งานการเมือง ของ พงษ์ศักดิ์_รักตพงศ์ไพศาล

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคปฏิวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2524 ต่อมาเข้าร่วมงานการเมืองพรรคก้าวหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ ในปี พ.ศ. 2535 และย้ายพรรคอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 มาเป็นกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ ซึ่งต่อมายุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[4] จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) [6]

ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ในงานจัดเลี้ยงวันเกิดครบรอบ 69 ปี พงษ์ศักดิ์ได้ขึ้นเวทีประกาศต่อหน้า ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิดว่า ขอยุติบทบาททางการเมืองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากอายุเยอะแล้วและได้ทำการเมืองมานานพอสมควร จึงอยากหยุดเพื่อพักผ่อน[7]

กรณีถูกออกหมายเรียกจาก ศอฉ.

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรียกให้ไปรายงานตัวในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ ห้องรับรอง อาคารอิงคยุทธบริหาร[8]

ใกล้เคียง

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา พงษ์ศักดิ์ คงแก้ว พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ พงษ์ศิริ พ.ร่วมฤดี พงษ์ศักดิ์ เหรียญทวนทอง พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ พงษ์ศิลป์ โกมลทัต พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พงษ์ศักดิ์_รักตพงศ์ไพศาล http://www.atnnonline.com/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8... http://www.khonthai.com/Election/Result/SS/0001200... http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=12715... http://www.moneychannel.co.th/Menu6/BreakingNews/t... http://www.thairath.co.th/people/view/pol/4543 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/... https://www.khaosod.co.th/politics/news_2685097