พระประวัติ ของ พญาเก้าเกื่อน

ครั้นต่อมาไม่นาน พญาขุนฟอง(พระบิดา) ก็พิราลัย เสนาอำมาตย์ใน เมืองวรนคร (ปัว) ก็อุสาราชาภิเศก[1][ต้องการหน้า] เป็น พญาเก้าเกื่อน ครองเมืองวรนคร ต่อมา เจ้าหลวงพญาภูคา (ผู้เป็นปู่)ที่ครองเมืองย่าง มานานแล้ว ก็คิดจะสละราชสมบัติ ให้พญาเก้าเกื่อน ผู้เป็นพระนัดดา ครองเมืองย่างต่อ ต่อมาพญาภูคา จึงใช้นางกำนัล 2 คนมาอาราธนา พญาเก้าเกื่อน เจ้าผู้ครองเมืองวรนคร ไปเป็นเจ้าผู้ครองเมืองย่าง ด้วยความเกรงใจพระอัยกา (ปู่)เจ้าหลวงพญาภูคาก็ตอบตกลง แล้วก็ได้มอบให้ นางพญาแม่ท้าวคำปิน ขณะที่ทรงครรถ์ (ท้อง) ผู้เป็นชายา ให้ครองเมืองวรนครต่อ และฝากเสนาอำมาตย์ ให้ดูแลเมืองวรนคร ต่อไป ต่อมาพญาเก้าเกื่อนก็เสด็จถึง เมืองย่าง เจ้าหลวงพญาภูคา[2]และเสนาอำมาตย์ทั้งหลายในเมืองย่างก็ อุสาราชาภิเศก พญาเก้าเกื่อน ให้ครองราชสมบัติเมืองย่าง ส่วนเจ้าหลวงพญาภูคา ที่เสวยเมืองย่างมานาน หลังจากนั้นก็สละราชสมบัติให้ พญาเก้าเกื่อน ครองต่อ ไม่นานท่านก็พิราลัยเมื่อปี พ.ศ. 1880 รวมระยะเวลาปกครองเมืองย่าง 68 ปี[3]