ดนตรีประกอบ ของ พยัคฆ์ร้าย_007

ดูบทความหลักที่: พยัคฆ์ร้าย 007 (ดนตรีประกอบ)

มอนตี นอร์แมน ได้รับคำเชิญจากบรอคโคลีให้มาแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ เนื่องจากบรอคโคลีชื่นชอบงานละครเวทีของเขา ที่มีชื่อเรื่องว่า เบลล์ (อังกฤษ: Belle) ในปี ค.ศ. 1961 ละครเวทีเพลงเกี่ยวกับฆาตกร ฮอว์ลี ฮาร์วี คริปเปน[35] นอร์แมนกำลังยุ่งอยู่กับละครเวทีและตกลงจะทำดนตรีให้ พยัคฆ์ร้าย 007 หลังซอลต์ซแมนอนุญาตให้เขาเดินทางไปกับทีมงานที่จาเมกาด้วย[36] ดนตรีประกอบที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ เจมส์ บอนด์ ธีม ซึ่งเล่นในระหว่างฉากในลำกล้องปืนและฉากแสดงชื่อเรื่องและเครดิต ซึ่งแต่งโดยนอร์แมน เอามาจากส่วนประกอบของผลงานก่อนหน้านี้ของเขา จอห์น แบร์รี ซึ่งต่อมาได้แต่งดนตรีประกอบให้กับภาพยนตร์บอนด์สิบเอ็ดเรื่อง เป็นคนเรียบเรียงบอนด์ธีมแต่ว่าไม่มีชื่อในเครดิต—ยกเว้นวงออเคสตราของเขาที่มีชื่อ มีการเสนอเป็นครั้งคราวว่าแบร์รีเป็นคนแต่ง เจมส์ บอนด์ ธีม ไม่ใช่นอร์แมน เรื่องนี้ทำให้ต้องมีการขึ้นศาลถึงสองครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2001 ซึ่งนอร์แมนเป็นผู้ชนะคดี[37] ธีมที่แต่งโดยนอร์แมนและเรียบเรียงโดยแบร์รี ได้รับการอธิบายโดย เดวิด อาร์โนลด์ นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์บอนด์อีกคนหนึ่งว่าเป็น "มีกลิ่นอายของบีบอบ-สวิง ควบคู่ไปกับกีตาร์ไฟฟ้าที่ดูร้าย, มืดมน, เสียงแตกของกีตาร์ไฟฟ้า, แน่นอนว่ามันเครื่องดนตรีของร็อกแอนด์โรล... มันเป็นตัวแทนของทุกอย่างเกี่ยวกับตัวละครที่คุณต้องการ: มันเป็นความโอ้อวด, เย่อหยิ่ง, มั่นใจ, มืดมน, อันตราย, ทะลึ่ง, เซ็กซี, หยุดไม่ได้ และเขาทำได้ในสองนาที"[38]

ใกล้เคียง

พยัคฆ์ร้าย 007 พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก พยัคฆ์ตะลุยพยัคฆ์ พยัคฆ์ยี่เก พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก สายลับกลับมาป่วน พยัคฆ์ระห่ำ มังกรผยองโลก 2 ชะตาเขียว พยัคฆ์ไม่ร้าย คัง คัง ฉิก พยัคฆ์ร้ายกิโยติน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พยัคฆ์ร้าย_007 http://www.allmovie.com/work/14575 http://www.boxofficemojo.com/movies/?id=drno.htm http://www.cinemaretro.com/index.php?/archives/152... http://www.imdb.com/title/tt0055928/ http://www.mgm.com/#/our-titles/566/Dr.-No/ http://www.montynorman.com/jamesbond/default.asp http://www.oxforddnb.com/view/article/63151 http://www.rottentomatoes.com/m/dr_no/ http://tcmdb.com/title/title.jsp?stid=73298 //doi.org/10.1080%2F14650040590946584