การย้ายเข้ามาของกลุ่มร้อยเอกธรรมนัส ของ พรรคกล้าธรรม

ต่อมาในวันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565 พรรคเศรษฐกิจไทยได้ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งว่า ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส. พะเยา และอดีตเลขาธิการ พรรคพลังประชารัฐ พร้อม ส.ส. ในกลุ่มอีก 20 คนได้เตรียมย้ายเข้ามาสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย ซึ่งมีกระแสข่าวที่ยังไม่ได้รับการยืนยันชัดเจนว่าปรากฏชื่อของ บิ๊กน้อย พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรค นาย อภิชัย เตชะอุบล ส.ส. บัญชีรายชื่อ และอดีตเหรัญญิก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชายของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นที่ปรึกษาพรรค จากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 นาย ไผ่ ลิกค์ ส.ส. กำแพงเพชร เขต 1 ซึ่งโดนขับออกจาก พรรคพลังประชารัฐ เช่นเดียวกับ ร้อยเอกธรรมนัส ได้โพสต์เฟซบุ๊กยืนยันว่า กลุ่ม ส.ส. ทั้ง 21 คนจะย้ายเข้าไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทยเพราะแนวทางเข้ากันได้[7]

กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2565 นางจอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส. สมุทรสาคร ได้ย้ายเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทยได้ประชุมจัดตั้งตัวแทนสาขาพรรคเศรษฐกิจไทย เขต 3 ที่ วัดบางพลี ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร[8] จากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ เวลา 11.30 น. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานยุทธศาสตร์ พรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคต่อ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ทำให้พ้นจากตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ โดยแอดมินเพจ อาน้อย วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า เตรียมเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ซึ่งต่อมาแอดมินได้ออกมายอมรับว่าเกิดจากรับข้อมูลคลาดเคลื่อนและตีเจตนารมณ์ผิดต่อมาจึงได้แก้ไขข้อความให้ถูกต้องและแอดมินได้กล่าวขอโทษต่อลูกเพจและประชาชน แต่อย่างไรก็ดีภายในเวลาไม่กี่นาทีแรกนักข่าวได้แคปโพสท์ของแอดมินไปทำข่าวและตีความพร้อมตั้งคำถามไปหลายทิศทางจึงทำให้เกิดกระแสข่าวออกมาค่อนข้างสับสนเนื่องจาก[9] หลังจากนั้นเพียงวันเดียวพล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ก็ยังคงลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ศูนย์กักกัน (OQ) แรงงานต่างด้าวตาม MOU โรงแรมอินโดจีน แกรนด์ เรสซิเด้นซ์ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อหารือ วางแนวทาง เรื่อง การขาดแคลนแรงงาน,ปัญหาด้านแรงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย (ซึ่งอาจเกี่ยวโยงถึงการค้ามนุษย์), ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 จากแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ไทย พร้อมกับพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตามปกติ[10]

พรรคเศรษฐกิจไทยได้แจ้งต่อสภาผู้แทนราษฏรว่า ได้ทำการรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกขับออกจากพรรคพลังประชารัฐ จำนวน 18 คน เข้าสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย[11] จากนั้นในวันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส.ส. ในสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทยก็ได้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก

ต่อมานาย บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ได้แจ้งข่าวหลังจากประชุม ส.ส. ของพรรคว่าพรรคเศรษฐกิจไทยเตรียมจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคเปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ อาคารยูทาวเวอร์ แขวงศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง และเปลี่ยนแปลงตราโลโก้พรรค เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 26 คนโดยตามกระแสข่าว พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งลาออกจากพรรคพลังประชารัฐอย่างเป็นทางการและเข้าร่วมประชุมกับพรรคอย่างเป็นทางการในวันนี้จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคส่วนเลขาธิการพรรคจะเป็นร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า[12]

ก่อนหน้านั้นในวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางพรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมที่พ้นจากตำแหน่งซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นายปัญญา พุกราชวงศ์ และ นายปราโมทย์ ปรีพูล เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[13] จากนั้นในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 ทางพรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ณ ที่ทำการพรรคเศรษฐกิจไทย แห่งใหม่ อาคารยูทาวเวอร์ ถนนศรีนครินทร์ เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค เปลี่ยนแปลงโลโก้พรรค เปลี่ยนแปลงที่ทำการพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ตามคาด โดยมีนาย บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค นาง ธนพร ศรีวิราช ภรรยาของร้อยเอกธรรมนัสเป็นเหรัญญิกพรรค[14]

ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 พรรคเศรษฐกิจไทยได้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคครั้งที่ 3/2565 ที่ที่ทำการพรรค โดยวาระการประชุมเป็นการรับทราบรายงานการประชุมใหญ่ของพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 พร้อมกับมีมติแต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ เพิ่มเติม[15] จากนั้นในวันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พลเอกวิชญ์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทยได้เปิดตัว ซินแสโจ้ คมสัน พันธุ์วิชาติกุล เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. คนแรกของพรรคในเขต บางพลัด-บางกอกน้อย[16]

ต่อมาในวันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นาย บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส. บัญชีรายชื่อและนายทะเบียนสมาชิกพรรคได้เปิดเผยว่าตนเองและคณะกรรมการบริหารพรรคอีก 14 คนรวมเป็น 15 คนได้ตัดสินใจยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและ กกต. แล้วทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบันต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะและต้องเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ภายใน 45 วันตามข้อบังคับพรรคเศรษฐกิจไทย[17] ต่อมาพลเอกวิชญ์ได้ตัดสินใจลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรครวมทั้ง ซินแสโจ้ คมสัน ก็ตัดสินใจลาออกจากการเป็นรองโฆษกพรรคและสมาชิกพรรคตามพลเอกวิชญ์ ไป

ใกล้เคียง

พรรคก้าวไกล พรรคกิจสังคม พรรคกล้าธรรม พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน พรรคกล้า พรรคกิจประชาชน พรรคกิจประชาธิปไตย (มาเลเซีย) พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526) พรรคกิจประชาคม พรรคกระยาจก

แหล่งที่มา

WikiPedia: พรรคกล้าธรรม https://www.dailynews.co.th/news/325749/ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/D/... https://siamrath.co.th/n/315415 https://www.thaipost.net/politics-news/70775/ https://www.bangkokbiznews.com/politics/985339 https://www.facebook.com/arnoivitch/ https://www.matichon.co.th/politics/news_3167875 https://www.thairath.co.th/news/politic/2336055 https://party.ect.go.th/dataparty-detail/121 https://www.posttoday.com/politic/news/678485