ความเสื่อมสลาย ของ พรรคคอมมิวนิสต์พม่า

หลังจากนายพลเนวี่นทำการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2505 พรรคคอมมิวนิสต์พม่าอยู่ในสภาพอ่อนแอและพยายามหาความร่วมมือจากชนกลุ่มน้อย พ.ศ. 2511 ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์พม่าหลายคนเสียชีวิตทำให้กลุ่มนิยมจีนเข้ามามีอำนาจในพรรค เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าและจีนในช่วง พ.ศ. 2510–2513 จีนสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าอย่างเปิดเผยจนสามารถกลับมายึดครองดินแดนภาคกลางแถบทิวเขาพะโคได้อีก พ.ศ. 2515 พรรคคอมมิวนิสต์พม่าพยายามหาความร่วมมือจากชนกลุ่มน้อยแต่ถูกปฏิเสธเพราะอุดมการณ์ต่างกัน ความแตกแยกกับชนกลุ่มน้อยเป็นเหตุให้ฝ่ายรัฐบาลสามารถรุกกลับ พรรคคอมมิวนิสต์พม่าต้องถอยกลับไปอยู่ชายแดนอีกครั้ง

พ.ศ. 2518 กองทหารฝ่ายรัฐบาลปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์พม่าที่ทิวเขาพะโคครั้งใหญ่รวมทั้งกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์พม่าตามแนวชายแดนด้วย ทำให้พรรคได้รับความเสียหายมาก ประกอบกับการเปลี่ยนนโยบายของจีน พรรคคอมมิวนิสต์พม่าจึงหาทางประนีประนอมกับรัฐบาล รัฐบาลพม่าได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ศัตรูทางการเมืองครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2524 มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่าแต่ตกลงกันไม่ได้ พรรคคอมมิวนิสต์พม่าจึงถอนกำลังกลับไปชายแดนเช่นเดิม จนกระทั่งสงครามเย็นสิ้นสุด พรรคคอมมิวนิสต์พม่าจึงหมดความสำคัญไป

ใกล้เคียง

พรรคความหวังใหม่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา พรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น พรรคคอมมิวนิสต์ (พม่า) พรรคคอมมิวนิสต์มลายา พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี