ก่อกำเนิดพรรค ของ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว

เริ่มต้นมาจากคณะพรรคแคว้นลาว ซึ่งเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ลักทธิมาร์กซ์-เลนิน โดยท่าน สหาย คำแสน สีวิไล เมื่อปี พ.ศ. 2478[1] ภายใต้การชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ของท่านโฮจิมินห์ ได้ดำเนินการปลุกระดมประชาชนให้มีน้ำใจรักชาติ ในปี พ.ศ. 2488 โดยอาศัยโอกาสที่เกิดจากชัยชนะของสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมกับการลุกฮือขึ้นในทั่วประเทศของประชาชนเวียดนาม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 ประชาชนลาวภายใต้การนำพาของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ก็ได้ดำเนินการลุกฮือขึ้นยึดอำนาจการปกครองในทั่วประเทศมาได้อย่างมีชัย ประกาศความเป็นเอกราชของชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติลาวต่อโลก เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2488

ปี พ.ศ. 2489 พวกล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสได้กลับมารุกรานลาวเป็นครั้งที่ 2 โดยการนำพาของคณะพรรคแคว้นลาว ได้เด็ดเดี่ยวปลุกระดมปวงชนลาวทั้งชาติ ลุกขึ้นต่อสู้ โดยร่วมสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับกำลังประกอบอาวุธของประชาชนเวียดนาม และกัมพูชา ตัดสินใจดำเนินการต่อสู้ยาวนานรอบด้าน เพื่อตีชนะศัตรูผู้รุกราน ฐานที่มั่นต่อต้านได้ก่อรูปขึ้นเป็นตัวตน ในหลายท้องถิ่นและหลายบริเวณ โดยการนำพาของสหายไกสอน พมวิหาน ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2492 กองทัพลาวอิสระ ซึ่งคือกองทัพปฏิวัติ ได้รับการสร้างตั้งขึ้น ในเขตลาวฮุ่ง เมืองเซียงค้อ แขวงหัวพัน (ต่อมาได้พัฒนาเป็นกองทัพประชาชนลาวในปัจจุบัน)

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2493 กองประชุมใหญ่แนวลาวต่อต้านทั่วประเทศได้เปิดขึ้นในแห่งหนึ่งของแขวงหัวพัน กองประชุมได้วางแนวทางปฏิวัติ เป็นเอกภาพในการต่อสู้กู้ชาติ หลังจากการพ่ายแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟูของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส พวกเขาจำต้องนอมจำนน ลงนามในสัญญาเจนีวา พ.ศ. 2497 รับรู้ความเป็นเอกราชของสามชาติอินโดจีน รับรู้ฐานะถูกกฎหมายของบรรดากำลังประกอบอาวุธปฏิวัติ และรับรู้สองแขวงภาคเหนือ ได้แก่ หัวพัน และผ้งสาลี เป็นเขตคุ้มครองโดยตรงของกองกำลังปฏิวัติ เป็นเงื่อนไขให้พรรคต้องดำเนินการอย่างเปิดเผย กองประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ระหว่างวันที่ 10-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 จึงได้ตกลงให้สร้างตั้งพรรคของแต่ละประเทศขึ้น เพื่อนำพาการปฏิวัติของแต่ละประเทศให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพื่อไปสู่ชัยชนะอย่างสมบูรณ์

กองประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 ที่เขตปลดปล่อยซำเหนือ ได้เปิดขึ้นอย่างปิดลับ โดยมี 25 สหาย เป็นผู้แทนให้สมาชิกพรรคทั่วประเทศจำนวน 420 สหายเข้าร่วม กองประชุมได้ลงมติสร้างตั้งพรรคของตรขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "พรรคประชาชนลาว" ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภารกิจของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน และวีรบุรุษที่ยอมเสียสละชีวิตเพื่อชาติ เป็นตัวแทนของชนชั้นกรรมกร และผู้ออกแรงงานเผ่าต่างๆ ในทั่วประเทศ กองประชุมได้เลือกตั้งคณะนำของพรรค อันมี 5 สหาย โดยสหาย ไกสอน พมวิหาน ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคณะชี้นำศูนย์กลางพรรค เลขาธิการคณะพรรคทหาร และผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองประชุมได้วางนโยบายพื้นฐานและโครงการของพรรควางออก 12 ข้อ ซึ่งหมายจะสืบต่อต้านพวกจักรวรรดินิยมล่าเมืองขึ้น และลูกมือ ต่อสู้ทวงให้รัฐบาลราชอาณาจักรต้องจริงใจร่วมมือกับกำลังฝ่ายปะเทดลาว เพื่อปฏิบัติสัญญาหยุดยิง ปรับปรุงสันติภาพ ปฏิบัติสิทธิ์เสรีภาพประชาธิปไตย ดำเนินการเลือกตั้งในทั่วประเทศอย่างเสรี รวมประเทศลาวเป็นเอกภาพ สร้างตั้งรัฐบาลผสม สร้างตั้งแนวร่วมเอกภาพแห่งชาติอย่างกว้างขวาง ก่อสร้างและปรับปรุงกำลังประกอบอาวุธ ให้กลายเป็นกองทัพประชาชน เพื่อปกปักรักษาเขตที่มั่น เป็นกำลังหนุนหลังให้แก่การต่อสู้ทางการเมือง ทั้งเป็นเสาค้ำให้การปกปักรักษาสันติภาพ ออกแรงก่อสร้างพรรคให้กลายเป็นพรรคที่เข้มแข็งของชนชั้นกรรมกร และผู้ออกแรงงาน เพื่อให้มีความสามารถเพียงพอในการนำพาการปฏิวัติลาวหันไปสู่ชัยชนะสุดท้าย

วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2499 กองประชุมสร้างตั้งแนวลาวรักชาติได้เปิดขึ้น โดยมีผู้แทน 200 กว่าคน ซึ่งเป็นขีดหมายใหม่ของความสามัคคีของชนชั้นต่างๆ ที่อ้อมข้างพรรค และในกองประชุมดังกล่าว ได้เปลี่ยนชื่อแนวลาวอิสระ เป็นแนวลาวรักชาติ พรรคได้นำพาประชาชนลาวบรรดาเผ่า ทำลายกลอุบายก่อสงครามกลางเมืองของพวกเขา ที่หมายจะดับสูญกองกำลังรักชาติ และพาไปถึงการลงนามในสนธิสัญญาเวียงจันทน์ พ.ศ. 2500 เพื่อสร้างตั้งรัฐบาลประสมแห่งชาติครั้งที่ 1 โดยมีผู้แทนของแนวลาวรักชาติเข้าร่วม เพื่อปฏิบัติตามสนธิสัญญาเวียงจันทน์ พรรคได้นำกองทหารของตน 2 กองพัน คือกองพันที่ 1 และ 2 เข้ารวมลาว ส่วนกำลังที่เหลือ ได้กลับสู่ภูมิลำเนาของแต่ละคน เพื่อปลุกระดมขวนขวายประชาชน ก่อสร้างรากฐาน แย่งเอากำลังสนับสนุนจากประชาชน สนับสนุนการต่อสู้ทางด้านการเมือง สมทบกับการเคลื่อนไหวของรัฐบาลประสม อันทำให้อิทธิพลของกำลังปฏิวัติแผ่กว้างอย่างรวดเร็ว

โดยความกลัวต่อการเติบใหญ่ของกำลังปฏิวัติ และได้รับความปราชัยของในกลอุบายล่อเสือออกจากถ้ำ หันเปลี่ยนโดยสันติ พวกจักรวรรดินิยมได้ใช้ความรุนแรงด้วยกำลังอาวุธ ต้านกับกำลังปฏิวัติ พวกเขาได้แทรกแทรงเข้าในกิจการภายในของลาว ในปี พ.ศ. 2501 พวกเขาได้ใช้กลุ่มฝ่ายขวาโค่นล้มรัฐบาลประสม ทำลายสัญญาเวียงจันทน์ จับกุมคุมขังบรรดาผู้นำแนวลาวรักชาติ เข่นฆ่านักรบปฏิวัติ ปิดล้อมสองกองพันที่เข้ารวมลาว ที่เซียงขวาง และทุ่งไหหิน

ต่อหน้าสภาพการตึงเครียดในเวลานั้น พรรคได้เปลี่ยนทิศการต่อสู้ สบทบด้วยการต่อสู้ทางด้านการเมือง และการต่อสู้ทางด้านอาวุธ มาในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 กองพันที่สองที่ได้ฝ่าวงปิดล้อมของศัตรูกลับสู่ฐานที่มั่นปฏิวัติได้อย่างองอาจกล้าหาญ จากนั้นถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 บรรดาผู้นำได้หลบหนีออกจากค่ายคุมขังกลับสู่ฐานที่มั่นปฏิวัติอย่างปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ พวกจักรวรรดินิยมและพวกขวาจัดได้เพิ่มทวีปราบปรามกองกำลังปฏิวัติอย่างหนักหน่วง แต่การกระทำของพวกเขานั้น ยิ่งเพิ่มทวีความเคียดแค้นให้ประชาชนบรรดาเผ่า ตลอดถึงภายในของพวกเขาเอง ก่อเกิดมีความขัดแย้งกันเอง ก่อให้เกิดมีการรัฐประหารขึ้น ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2503 พรรคได้ใช้โอกาสดังกล่าว โดยมีแผนนโยบายสนับสนุนกองกำลังรัฐประหาร สมทบด้วยสภาพการดังกล่าว กำลังปฏิวัติได้เปิดสมรภูมิปลดปล่อยเอาทุ่งไหหินเซียงขวาง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2504 เปิดกว้างฐานที่มั่นปฏิวัติ ขยายเขตปลดปล่อยติดต่อแต่เหนือถึงใต้ในทั่วประเทศ พรรคได้ปลุกระดมปวงชนทำลายการโจมตีของศัตรู ปรับปรุงเพิ่มทวีความสามัคคีระหว่างแนวลาวรักชาติ และกำลังเป็นกลางรักชาติ ซึ่งแสดงออกในกองประชุมประสมการเมืองทั่วประเทศ

ด้วยน้ำใจรักชาติอันแรงกล้า พรรคและประชาชนลาวได้ต่อสู้จนศัตรูได้รับความปราชัยอย่างติดต่อกัน ได้ชัยชนะเป็นก้าวๆ สามารถทำลายทฤษฎีของจักรพรรดิล่าเมืองขึ้นแบบใหม่ ที่ใช้คนอินโดจีนฆ่าคนอินโดจีน ให้ปราชัยลง

ใกล้เคียง

พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561) พรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย พรรคประชาชนปฏิวัติลาว พรรคประชากรไทย พรรคประชาชนกัมพูชา พรรคประชาราช พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2531) พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลี พรรคประชาธิปไตยใหม่