ประวัติ ของ พรรคพลังประชารัฐ

ชวน ชูจันทร์ ประธานประชาคมตลาดน้ำคลองลัดมะยม และพันเอก สุชาติ จันทรโชติกุล อดีต ส.ส. สงขลา พรรคความหวังใหม่ และอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเป็นผู้จดจองชื่อพรรคพลังประชารัฐต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561[9] ชื่อพรรค "พลังประชารัฐ" เป็นชื่อนโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่สำคัญของรัฐบาลประยุทธ์[10]

พรรคได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม "สามมิตร" ซึ่งมีแกนนำเป็นอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ได้แก่ สมศักดิ์ เทพสุทิน, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอยู่ กลุ่มดังกล่าวพยายามดึงตัวสมาชิกรัฐสภาทั้งจากพรรคเพื่อไทย พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มดังกล่าวสามารถเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ขณะที่ยังมีคำสั่ง คสช. ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น

พรรคจัดประชุมสามัญใหญ่ของพรรคเป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 เพื่อเลือก หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกจำนวน 25 คนปรากฏว่า อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลประยุทธ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลประยุทธ์ 1 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกแต่ในเวลาต่อมานาย กรัณย์ สุทธารมณ์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรกเหลือ 24 คนประกอบไปด้วย

ลำดับที่ชื่อตำแหน่ง
1อุตตม สาวนายนหัวหน้าพรรค
2สุวิทย์ เมษินทรีย์รองหัวหน้าพรรค
3ณัฏฐพล ทีปสุวรรณรองหัวหน้าพรรค
4สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์เลขาธิการพรรค
5กอบศักดิ์ ภูตระกูลกรรมการบริหารพรรคและโฆษกพรรค
6วิเชียร ชวลิตนายทะเบียนสมาชิกพรรค
7พรชัย ตระกูลวรานนท์เหรัญญิกพรรค
8อิทธิพล คุณปลื้มกรรมการบริหารพรรค
9ชวน ชูจันทร์กรรมการบริหารพรรค
10ชาญกฤช เดชวิทักษ์กรรมการบริหารพรรค
11ณพพงศ์ ธีระวรกรรมการบริหารพรรค
12นฤมล ภิญโญสินวัฒน์กรรมการบริหารพรรค
13พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจกรรมการบริหารพรรค
14วลัยพร รัตนเศรษฐกรรมการบริหารพรรค
15วิเชษฐ ตันติวานิชกรรมการบริหารพรรค
16ชาญวิทย์ วิภูศิริกรรมการบริหารพรรค
17สันติ กีระนันทน์กรรมการบริหารพรรค
18สุรพร ดนัยตั้งตระกูลกรรมการบริหารพรรค
19องอาจ ปัญญาชาติรักษ์กรรมการบริหารพรรค
20พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์กรรมการบริหารพรรค
21ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์กรรมการบริหารพรรค
22ธณิกานต์ พรพงศาโรจน์กรรมการบริหารพรรค
23สรวุฒิ เนื่องจำนงค์กรรมการบริหารพรรค
24อนุชา นาคาศัยกรรมการบริหารพรรค

ต่อมาไม่นานนายวิเชษฐหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคทำให้พรรคพลังประชารัฐเหลือกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 23 คน [11] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อไปทำหน้าที่ผู้อำนวยการ สถาบันปัญญาประชารัฐ ที่ทางพรรคก่อตั้งขึ้น [12] กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นายอุตตมพร้อมคณะได้เดินทางมายัง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐอย่างเป็นทางการ [13]

ในวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีบุคคลกว่า 150 คนเข้าร่วมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีทั้งอดีตสมาชิกรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีและบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา[14] นักการเมืองท้องถิ่น รวมถึงอดีตแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[15]

ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2561 นายอุตตมได้ลงนามในคำสั่งพรรคแต่งตั้งให้นาย ธนกร วังบุญคงชนะ เป็นรองโฆษกพรรค [16]

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ[17] ในเดือนมกราคม 2562 สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 4 คนที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งเพื่อมาหาเสียงเต็มเวลา หลังถูกวิจารณ์มาหลายเดือน[18]

ต่อมาได้มีการตั้งรองโฆษกพรรคเพิ่มขึ้นอีก 2 คนคือ นายไกรเสริม โตทับเที่ยง และ นางสาวทิพานัน ศิริชนะ ซึ่งเป็นอดีตผู้สมัคร ส.ส. กทม.ของพรรค

จากนั้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายกอบศักดิ์ซึ่งเป็นโฆษกพรรคได้ขอลาออกจากตำแหน่งภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองส่งผลให้เหลือตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเพียงตำแหน่งเดียวทำให้นายธนกรต้องรักษาการในตำแหน่งโฆษกพรรค ก่อนหน้านั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐพร้อมกับรับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรค

กระทั่งวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นายอุตตมได้ลงนามในคำสั่งพรรคแต่งตั้งให้นายธนกรเป็นโฆษกพรรคอย่างเป็นทางการ

ต่อมาในวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ทางพรรคพลังประชารัฐได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค ตราสัญลักษณ์พรรค เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมจำนวน 17 คนพร้อมกับมีมติรับรองการลาออกของกรรมการบริหารพรรคจำนวน 6 คนได้แก่

  • นาย สุรพร ดนัยตั้งตระกูล
  • นายณพพงศ์ ธีระวร
  • นางสาวธณิกานต์ พรพงศาโรจน์
  • นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์
  • นายชาญกฤช เดชวิทักษ์
  • นางวลัยพร รัตนเศรษฐ

ส่งผลให้เหลือคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 17 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมจำนวน 17 คนได้แก่

ทำให้พรรคพลังประชารัฐมีคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 34 คนประกอบไปด้วย [19]

ลำดับที่ชื่อตำแหน่ง
1อุตตม สาวนายนหัวหน้าพรรค
2สุวิทย์ เมษินทรีย์รองหัวหน้าพรรค
3ณัฏฐพล ทีปสุวรรณรองหัวหน้าพรรค
4ไพบูลย์ นิติตะวันรองหัวหน้าพรรค
5อนุชา นาคาศัยรองหัวหน้าพรรค
6สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์เลขาธิการพรรค
7วิเชียร ชวลิตนายทะเบียนสมาชิกพรรค
8พรชัย ตระกูลวรานนท์เหรัญญิกพรรค
9ชวน ชูจันทร์กรรมการบริหารพรรค
10อิทธิพล คุณปลื้มกรรมการบริหารพรรค
11กอบศักดิ์ ภูตระกูลกรรมการบริหารพรรค
12นฤมล ภิญโญสินวัฒน์กรรมการบริหารพรรค
13พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจกรรมการบริหารพรรค
14ชาญวิทย์ วิภูศิริกรรมการบริหารพรรค
15สันติ กีระนันทน์กรรมการบริหารพรรค
16พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์กรรมการบริหารพรรค
17ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์กรรมการบริหารพรรค
18สรวุฒิ เนื่องจำนงค์กรรมการบริหารพรรค
19สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจกรรมการบริหารพรรค
20สมศักดิ์ เทพสุทินกรรมการบริหารพรรค
21สุพล ฟองงามกรรมการบริหารพรรค
22สันติ พร้อมพัฒน์กรรมการบริหารพรรค
23วิรัช รัตนเศรษฐกรรมการบริหารพรรค
24สุชาติ ชมกลิ่นกรรมการบริหารพรรค
25ไผ่ ลิกค์กรรมการบริหารพรรค
26นิโรธ สุนทรเลขากรรมการบริหารพรรค
27บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์กรรมการบริหารพรรค
28สกลธี ภัททิยกุลกรรมการบริหารพรรค
29สัมพันธ์ มะยูโซะกรรมการบริหารพรรค
30สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์กรรมการบริหารพรรค
31ประภาพร อัศวเหมกรรมการบริหารพรรค
32นิพันธ์ ศิริธรกรรมการบริหารพรรค
33ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่ากรรมการบริหารพรรค
34สุรชาติ ศรีบุศกรกรรมการบริหารพรรค

การเลือกตั้งทั่วไปปี 2562

พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวตามบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2560 แม้มีพรรคการเมืองหลายพรรคสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่พรรคพลังประชารัฐถูกมองว่าเป็น "พรรคนิยมประยุทธ์อย่างเป็นทางการ" เพราะแกนนำพรรคหลายคนเป็นรัฐมนตรีและที่ปรึกษาในรัฐบาลประยุทธ์[20][21]

ในการเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ[22] ต่อมาในเดือนมีนาคม 2562 พรรคพลังประชารัฐเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน แต่พรรคยืนยันว่าสามารถทำได้จริง[23]

พรรคพลังประชารัฐถูกร้องเรียนว่าได้รับการสนับสนุนอย่างลำเอียงจากเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐ[24][25] ในเดือนพฤศจิกายน 2561 รัฐบาลประยุทธ์อนุมัติงบประมาณอัดฉีดเงินสด 86,700 ล้านบาท[26] ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นการใช้เงินภาษีซื้อเสียง[27] นอกจากนี้ พรรคพลังประชารัฐยังถูกกล่าวหาว่ามีการให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเพื่อแลกกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นนโยบายช่วยเหลือคนยากจนของรัฐบาล[28]

พลเอกประยุทธ์ใช้อำนาจเต็มที่ตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว สั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวาดเขตเลือกตั้งใหม่[29][30][31] นักวิจารณ์ระบุว่า การวาดเขตเลือกตั้งใหม่นี้เอื้อประโยชน์ต่อพรรคพลังประชารัฐ โดยบางคนให้ความเห็นว่า พรรคพลังประชารัฐชนะการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว[32]

วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุนมูลค่า 600 ล้านบาท โดยมีแผนที่ซึ่งมีชื่อหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการคลัง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมด้วย ทำให้มีข้อกังขาว่ามีการใช้เงินภาษีหรือหาผู้บริจาคหรือผู้ซื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานดังกล่าวซึ่งอาจต้องมีการตอบแทนในอนาคต[33] ในเดือนมกราคม 2562 พรรคเปิดเผยชื่อผู้บริจาคในงานดังกล่าวตามระเบียบ 90 ล้านบาท โดยเป็นชื่อผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พรรคไม่ได้เปิดเผยแหล่งที่มาของเงินบริจาคที่เหลือ[34] วันที่ 12 มีนาคม 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค[35] ทว่าต่อมาสำนักข่าวอิศราพบว่า มีกลุ่มทุนจากประเทศไอซ์แลนด์ถือหุ้นในบริษัทที่บริจาคเงินให้พรรคพลังประชารัฐ[36]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นคำร้องไต่สวนยุบพรรค เนื่องจากเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามเพราะดำรงตำแหน่งทางการเมือง[37] ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ[38] วันที่ 14 มีนาคม 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง[39]

ผลการเลือกตั้งเบื้องต้นพบว่าพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. มากเกินคาด โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครสามารถแย่งที่นั่งจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ทั้งหมด ทำให้ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ข่าวหุ้น เขียนว่า คนชั้นกลางเก่าอนุรักษนิยมที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐแทน แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพราะเกลียดทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ใบตองแห้งยังเขียนว่า พรรคพลังประชารัฐใช้ปัจจัยในการเมืองแบบเก่าเพื่อเอาชนะ คือ นโยบายประชานิยม ส.ส.ที่ดูดจากพรรคอื่น ประกอบกับอำนาจรัฐราชการ นอกเหนือจากฐานเสียงอนุรักษนิยมในต่างจังหวัด องค์ประกอบของรัฐบาลที่อาจเกิดจากพรรคพลังประชารัฐตั้งจะมีองค์ประกอบจะเป็นนักการเมืองทุนท้องถิ่น ย้อนกลับไปเหมือนสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ[40]

ครม. ประยุทธ์ 2

ก่อนมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ในเดือนมิถุนายน 2562 มีข่าวแย่งตำแหน่งภายในพรรคพลังประชารัฐ โดยกลุ่มสามมิตรซึ่งประกอบด้วยสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, สมศักดิ์ เทพสุทิน และอนุชา นาคาศัยแถลงยืนยันว่าตนต้องได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีตามโผในวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งหากไม่ตรงก็จะแสดงจุดยืนอีกครั้ง และมีข่าวกลุ่มสามมิตรพยายามเสนอญัตติขับไล่สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ออกจากตำแหน่ง เพราะ "เป็นภัยต่อความมั่นคงของพรรคและของรัฐบาลเป็นอย่างสูง ... ไม่ยึดโยงกับ ส.ส. ในพรรค ไม่เห็นหัว ส.ส. ในพรรคแม้แต่คนเดียว ... ท่านทำให้พรรคเราแตกแยก"[41] ก่อนที่ต่อมากลุ่มสามมิตรจะยอมล้มข้อเรียกร้องของตนเองและยอมรับให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดสรรคณะรัฐมนตรี[42] โดยก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าจะมีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจากอุตตม สาวนายนเป็นพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[43]

ต้นเดือนกรกฎาคม 2562 พรรคพลังประชารัฐออกมายอมรับว่าต้องชะลอนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 425 บาทต่อวัน แม้ก่อนหน้านี้จะยืนยันว่าจะนำนโยบายไปปฏิบัติในระหว่างหาเสียง[44]

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงผลการเลือกตั้งผู้นำเลือกตั้ง
2562
119 / 500
8,441,27423.74%แกนนำจัดตั้งรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ใกล้เคียง

พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) พรรคพลังประชารัฐ พรรคพลังธรรม พรรคพลังบูรพา พรรคพลังท้องถิ่นไท พรรคพลังปวงชนไทย พรรคพลังสังคมใหม่ พรรคพลังประชาชน (เกาหลีใต้) พรรคพลังธรรมใหม่ พรรคพลัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: พรรคพลังประชารัฐ http://www.fitchsolutions.com/country-risk-soverei... http://www.instagram.com/pprpthailand http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/19/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2018/11/27/... http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/27/... http://www.nationmultimedia.com/detail/opinion/303... http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30... http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30... http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30... http://www.nationmultimedia.com/detail/politics/30...