ประวัติ ของ พรรคภูมิใจไทย

เปิดตัวพรรค

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เวลา 10.30 น. พรรคภูมิใจไทย ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวและแถลงนโยบาย ที่ โรงแรมสยามซิตี้ โดยมีแกนนำ อาทิ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายโสภณ ซารัมย์, นายศุภชัย ใจสมุทร และนางพรทิวา นาคาศัย

นอกจากนี้ยังมีอดีตกรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทย และ พรรคพลังประชาชน เข้าร่วมงานอย่างคึกคัก อาทิ นายเนวิน ชิดชอบ, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม, นายสุชาติ ตันเจริญ, นายทรงศักดิ์ ทองศรี, นายอนุชา นาคาศัย และนายอนุทิน ชาญวีรกูล นอกจากนี้ยังมีบรรดา ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรค ทั้งนี้ สัญลักษณ์ของพรรค เป็นรูป แผนที่ประเทศไทย อยู่ตรงกลางหัวใจ 2 สี (สีแดงและสีน้ำเงิน) พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวนโยบายพรรค 7 ข้อ โดยให้ความสำคัญกับการเคารพเทิดทูนและยึดมั่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, ต่อต้านการปกครองที่ไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำเนินงานทางการเมืองในลักษณะประชานิยม ภายใต้สโลแกน "ประชานิยม สังคมเป็นสุข" โดยนางพรทิวา กล่าว่า สำหรับการจัดสรรตำแหน่งภายในพรรคนั้น พรรคจะมีการประชุมเลือกผู้บริการพรรคใหม่อีกครั้งภายในเดือนหน้า

สำหรับ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ย้ายมาอยู่พรรคภูมิใจไทย ได้แก่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ขณะที่นายบุญจงกล่าวภายหลังการแถลงข่าวเสร็จสิ้น ว่า พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนถูกต้องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเหตุผลที่ย้ายมาสังกัดพรรคนี้เนื่องจากเกิดจากการรวมตัวของเพื่อน ส.ส. มีการประชุมหารือ และเห็นตรงกันในเรื่องแนวคิด นโยบาย ที่บอกว่า “ประชานิยม สังคมมีสุข” จึงได้ร่วมกันตั้งพรรคขึ้น

นายบุญจง กล่าวต่อว่า เวลานี้พรรคภูมิใจไทยมีจำนวน ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน 23 คน รวม ส.ส.จากพรรคอื่นอีก 7 คน เป็น 30 คน และมี ส.ส.ที่ยังไม่สังกัดพรรคการเมือง ที่เตรียมจะเข้ามาสังกัดพรรคเพิ่มอีก โดยยืนยันทางพรรคจะไม่ปิดกั้น

อย่างไรก็ตาม นายบุญจง กล่าวอีกด้วยว่า การรวมกันตั้งพรรคครั้งนี้ เป็นการรวมกันเพื่อทำการเมืองให้มีความมั่นคง จำนวน ส.ส.ที่เพิ่ม จะไม่เป็นประเด็นต่อรองตำแหน่ง แต่จะต่อรองในเรื่องนโยบายประชานิยม ผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว [3]

ย้ายที่ทำการพรรค

ต่อมาในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2552 พรรคภูมิใจไทยได้ทำการย้ายที่ทำการพรรคจากเดิม 134/245 ถนนสนามบินน้ำ ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยได้ย้ายไปอยู่อาคารเลขที่ 2159/11 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร[4]

การแยกตัวของกลุ่มมัชฌิมา

สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา ได้ประกาศแยกตัวออกจากพรรคภูมิใจไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 แต่ยังคงสถานะความเป็นสมาชิกไว้เพื่อรักษาสถานภาพการเป็น ส.ส.ของสมาชิกในกลุ่มไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่[5] กระทั่งในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน จึงได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค

ใกล้เคียง

พรรคภูมิใจไทย พรรคภารตียชนตา พรรคภราดรภาพ พรรคภาระการต่อสู้แห่งชาติ พรรคของภูมิภาค (โปแลนด์) พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคไทยรักไทย