ภายใต้ยุคระเบียบใหม่ ของ พรรคมูร์บา

หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2508 – 2509 พรรคมูร์บายังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแต่มีอิทธิพลน้อยลง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2509 อาดัม มาลิกได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของซูฮาร์โต[12]

ในสมัยซูฮาร์โต พรรคการเมืองที่เหลือจากระบอบเก่าถูกกดดันให้รวมตัวกันเหลือเพียง 2 พรรค พรรคหนึ่งเป็นพรรคอิสลาม อีกพรรคเป็นพรรคฆราวาส พรรคมูร์บาเข้าร่วมกับพรรคฆราวาส และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 ได้จัดตั้งกลุ่มพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วยพรรคมูร์บา พรรคแห่งชาติอินโดนีเซีย สันนิบาตผู้สนับสนุนอินโดนีเซียเอกราช พรรคคาทอลิกและพรรคคริสเตียนอินโดนีเซีย[13]

พรรคมูร์บาเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2514 ได้คะแนนเสียงเพียง 0.1% และไม่ได้ที่นั่ง[14] ต่อมา ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2516 พรรคมูร์บาและพรรคอื่นๆในกลุ่มพัฒนาประชาธิปไตยได้รวมตัวกันกลายเป็นพรรคประชาธิปไตยอินโดเซีย[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พรรคมูร์บา http://books.google.com/books?id=5bBHQwa0z8AC http://books.google.com/books?id=7QPFzg6nt0EC http://books.google.com/books?id=CFW1tNel8m0C http://books.google.com/books?id=KcnNYbo81MkC http://books.google.com/books?id=TJptHWc4i1EC http://books.google.com/books?id=VAH0W9uxoqoC http://books.google.com/books?id=WDgBBzWQ2DAC http://books.google.com/books?id=WnRTP-olmNQC http://web.archive.org/http://partaiindonesia.com/... http://www.ipu.org/parline-e/reports/arc/INDONESIA...