ประวัติ ของ พรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย

  • วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นายสมาน ศรีงาม เลขาธิการพรรค แถลงเปิดตัวพรรค ท่ามกลางสนใจของประชาชนว่าเป็นพรรคทหาร และน่าจะมีนายทหารชักใยอยู่เบื้องหลัง โดยมุ่งประเด็นความเกี่ยวข้องกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งส่ง พล.ท.ธรากฤต ทับทองสิทธิ์ รอง ผอ.รมน.ภาค 2 เป็นตัวแทน มาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา โดย นายสมาน ศรีงาม ประกาศสนับสนุนให้ คสช. โอนอำนาจสู่ประชาชน ก่อนจัดการเลือกตั้ง [2][3][4]
  • วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ให้การปฏิเสธอยู่เบื้องหลังการตั้งพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย และย้ำว่าตนและนายกรัฐมนตรีไม่คิดที่จะเล่นการเมือง [5][6]
  • วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 น.อ.(พิเศษ) คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ หัวหน้าคณะปวงชนชาวไทยเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (ปชก.) และเลขาธิการสหพรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย (อปท.) แถลงว่า ไม่ว่าจะหลังเลือกตั้งหรือไม่มีการเลือกตั้ง การเมืองก็ถึงทางตัน คาดเกิดวิกฤติบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จี้หยุดวงจรอุบาทว์ทางการเมือง หากเกิดวิกฤติขึ้นจริง ครั้งนี้ขอทหารอย่าปฏิวัติ ประชาชนขอปฏิวัติเอง [8]

ใกล้เคียง

พรรคอนาคตใหม่ พรรคอนาคตไทย พรรคอธิปไตยปวงชนชาวไทย พรรคอามอาทมี พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร) พรรคอนุรักษนิยมแห่งแคนาดา พรรคอธิปัตย์ พรรคอิสระ (พ.ศ. 2512) พรรคอำนาจใหม่ พรรคอำนาจเขมร