วิทยฐานะ ของ พระครูจ้อย_จนฺทสุวณฺโณ


ในขณะที่หลวงพ่อได้ไปตั้งต้นเดินธุดงค์ที่ทางภาคเหนือลงมาตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ลงมาจนถึงจังหวัดนครปฐมระหว่างนั้นได้มีการศึกษาวิชาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์ หลายรูป เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไพร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้ทำการเรียนวิชาการทำตะกรุดโทน ผ้าประเจียด การทำน้ำมนต์ เกี่ยวกับยันต์มหาอำนาจ

หลังจากนั้นหลวงพ่อได้เดินทางไปเรียนวิชาต่อกับหลวงพ่อฉาบ วัดคลองจัน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยได้ทำการเรียนวิชาการเขียนลบผงอิทธิเจ ปถมัง พุทธคุณ และมหาราช ต่อจากนั้นได้เดินทางไปหาหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ต่างๆแก่กัน โดยหลวงพ่อได้เรียนวิชา พระคาถานะ 108 หัวใจ ธาตุทั้ง 4 และหัวใจพระคาถาต่างๆ และหลวงพ่อยังได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมกับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ศึกษาวิชาการทำ มีดหมอเทพศัสตราวุธ สักกัสสะวชิราวุธทัง ปลายันติ

ซึ่งถือได้ว่าหลวงพ่อเดิมนั้นเป็นเกจิชื่อดังในสมัยนั้นหลังจากเรียนอาคมเสร็จแล้วก็ไปศึกษาต่อกับหลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ศึกษาวิชาการหุงน้ำมัน และวิชาการประสานกระดูกต่างๆ ตลอดจนกระทั่งได้ไปศึกษาภาษาขอมลาว หรือตัวธรรมกับอาจารย์คำภา ทางภาคอีสานซึ่งอาจารย์คนนี้ได้มีโอกาสเดินทางผ่านมายังจังหวัดนครสวรรค์หลวงพ่อจึงได้ถือโอกาสศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ

ซึ่งภายหลังตำราหรือวิชาอันนี้หลวงพ่อจ้อยได้มอบตำราและถ่ายทอดวิชา การทำน้ำมนต์ให้กับ พระครูนิทัศน์ประชานุกูล รองเจ้าอาวาสได้เก็บดูแลและรักษาไว้

ใกล้เคียง

พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร) พระครูภาวนาภิรัต (ทิม อิสริโก) พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) พระครูญาณวิลาศ (แดง รตฺโต) พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ) พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) พระครูภาวนากิจจาภิรม (สมชาย จีรปุญฺโญ)