ประวัติ ของ พระคันธารราษฎร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นเมื่อปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. 1145 (พ.ศ. 2326) มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระในท่ากวัก พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลาเป็นกิริยารับน้ำ ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำโดยลงยาสีเหมือนจริง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์บางเรียว พระกรรณยาว เกือบจดพระอังสา ขมวดพระเกศาทำเป็นรูปก้นหอยเรียงตลอดถึงพระเมาลี พระรัศมีทำเป็นรูปดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวามีริ้วผ้าที่ด้านหน้าองค์พระพุทธรูป รองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงายและฐานสิงห์ ลักษณะทั้งหมด เป็นพระราชดำริที่โปรดให้ถ่ายแบบ มาจากพระพุทธรูปในสมัยโบราณ เดิมเป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทอง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้กะไหล่ทอง และติดเพชรเม็ดใหญ่เป็นพระอุณาโลมที่พระนลาฏ ปัจจุบันไม่มีเพชรที่พระนลาฏ

พระคันธารราษฎร์นี้ เดิมคงประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และสร้างปูชนียสถานเพิ่มเติม ได้สร้างหอพระคันธารราษฎร์ ขึ้นที่มุมระเบียงด้านหน้าพระอุโบสถ เป็นอาคารขนาดเล็กยอดปรางค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป และเทวรูปสำคัญที่ใช้ในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เรียกนามอาคารตามนามพระพุทธรูปว่า “หอพระคันธารราษฎร์”

ใกล้เคียง

พระคัมภีร์คนยาก พระคันธารราฐ พระคันธารราษฎร์ พระคันธกุฎี พระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์หลัก พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับเคลือบแคลง พระคัมภีร์ฉบับพระเจ้าเจมส์ พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละติน