หมู่พระตำหนัก ของ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์

  • ๑.หมู่พระตำหนัก หมู่พระตำหนักประกอบด้วย อาคารหลังพระตำหนักปีกไม้ เป็นพระตำหนักหลังแรก สร้างใน พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นรูปแบบล็อกเคบินใช้เป็นเรือนรับรองหลังแรก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างพระตำหนักใหญ่เป็นตึกสองชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ บริเวณเนินหน้าผาห่างจากพระตำหนักปีกไม้ ประมาณ ๕๐๐ เมตร และยังได้ก่อสร้างพระตำหนักที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน และต่อมาได้มีการสร้างพระตำหนักหลังหนึ่งในบริเวณใกล้เคียงกัน รวมเป็นพระตำหนัก ๔ หลัง

ห่างจากพระตำหนักใหญ่ประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ได้สร้างบ้านพัก พลโทเปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ ๒ (ยศและตำแหน่งขณะนั้น)นอกจากอาคารพระตำหนักและบ้านพักพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดังกล่าวแล้ว ยังมีอาคารบ้านพักข้าราชการฝ่ายในอีก ๖๘ หลังอยู่รายรอบมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับอย่างสวยงาม ตามลักษณะภูมิทัศน์ช่วยส่งเสริมให้พระตำหนักมีความสดชื่น งดงาม ดูเด่นเป็นสง่าน่าประทับใจ๒.งานภูมิทัศน์ งานภูมิทัศน์ถือว่าเป็นส่วนที่ดึงดูดให้ประชาชนเข้าชมด้วยความประทับใจ การจัดภูมิทัศน์อาศัยสภาพพื้นที่เป็นพื้นฐานในการจัดคือ ลักษณะพื้นที่เป็นเชิงเนินชายเทือกเขาภูพานตอนกลาง และอาศัยสภาพผิวหน้าดินเป็นหลักในการปลูกไม้ดอกไม้ประดับคือ เป็นภูเขาหินทรายปกคลุมด้วยผังดินทรายสลายบนดินลูกรังโดยหลักการดังกล่าว สวนในพระตำหนักภูพานอาจจัดสวนได้ ๕ รูปแบบคือ

  • ๑. สวนรวมพันธุ์ไม้ (Mixed garden)
  • ๒. สวนแบบประดิษฐ์ (Formal Style)
  • ๓. สวนแบบธรรมชาติ (Informal Style)
  • ๔. สวนหินประดับประดา (Rock garden)
  • ๕. สวนประดับหิน (Stone garden)

การจัดสวน นับจากเขตพระราชฐานชั้นนอกพระตำหนักริมถนนมีสระน้ำขอบตั้งหินทรายแดง (Red Stone) ปลูกบัวสายสีแดง ชมพู ม่วง ประดับเรียงราย สลับกับต้นตะแบก ส่วนประดู่ อีกทั้งปลูกไม้ทั้งปลูกไม้ดอกและไม้ใบ สลับให้สวยงามหน้ากองรักษาการได้จัดสวนแบบประดิษฐ์ มีต้นปกปิดสีเขียว แดง เหลือง ปลูกและตัดแต่งเป็นรูปทหารท่าสะพายปืนดูน่าเกรงขามเขตพระราชฐานชั้นใน ทางสำหรับรับเสด็จพระราชดำเนินต้องผ่านธารน้ำมีการก่อสร้างสะพานเหล็กทอดข้าม มุมถนนสามแยกจัดสวนประดิษฐ์เป็นเครื่องหมายประจำพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์เป็นรูปยอดพระธาตุเชิงชุม ล้อมรอบด้วยพระมหามงกุฎ ปลูกต้นปาล์ม พัดโบก ปาล์มบังสูรย์ ต้นเข็ม และต้นยักเป็ดประดับด้วยหินทราย (Stone garden) ด้านหลังปลูกต้นปาล์มพัด หรือกล้วยลังกาในหมู่ไม้หมากผู้เมียสีแดง และหมู่สนมูลคลุมต้นด้วยต้นผักชมแดงเป็นจุดเด่น ฝั่งตรงข้ามหมู่หินประดับ จัดเสริมไม้ดอกสีต่าง ๆ ตามฤดูกาลแบบรวบรวมพันธุ์ไม้ (Mixed Garden)บริเวณที่เป็นสวนประดับทั่วไปริมถนนภายในเขตพระราชฐาน ปลูกปาล์มพัดคู่สลับเป็นระยะกับร่องไม้ดอก มีดอกบานเช้ากระดุมทอง บานชื่น และหมู่ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ข้างพระตำหนักเป็นพรรณไม้พุ่ม เนื่องจากแสงส่องถึงน้อยจึงเหมาะที่ใช้ไม้พวกคาลาเธีย สาวน้อยประแป้ง บอนสี และเฟิร์น มาปลูกประดับสวนหน้าพระตำหนักจัดประดับหิน แทรกต้นหน้าวัว เทียนหยดด่าง หลิวไทเป กล้วยไม้สกุลอีฟิเดนดัม สีส้ม กุหลาบ อาซาเลีย หรือ กุหลาบพันปีของไทยชยาฮาวายสีต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้พุ่มทั่วไป จุดเด่นในบริเวณนี้อยู่ที่ไม้พันธุ์ต่าง ๆ จะมีดอกออกดอกตลอดปี และในที่นี้มีต้นพลองออกดอกสีม่วง เป็นต้นไม้ป่าซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงโปรดมากที่เรือนคำหอมบริเวณนี้ประดับด้วยพันธุ์ไม้ดอกจากป่าภูพาน เช่น ดุสิตา มณีเทวา สวิสจันทร์ ทิพย์เกสร ดอกสร้อยสุวรรณ รวมทั้งดอกเทียนป่า การปลูกประดับจะปลูกได้ในปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว ดอกไม้เหล่านี้เป็นที่ชื่นชมของประชาชนผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก และยังมีโรงช้างต้นอยู่ภายในบริเวณพระตำหนักด้วย

ใกล้เคียง

พระตำหนักในพระราชวังดุสิต พระตำหนักฝ่ายใน (พระราชวังบางปะอิน) พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักดอยตุง พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระตำหนักทับขวัญ พระตำหนักนนทบุรี พระตำหนักดาราภิรมย์ พระตำหนักสวนรื่นฤดี