ประวัติศาสตร์ ของ พระธรณี

จิตรกรรมฝาผนังรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม อุโบสถวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี ที่กล่าวกันว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังรูปพระแม่ธรณีที่งดงามที่สุด จิตรกรรมแบบสกุลช่างนนทบุรี[3]

ในคัมภีร์และงานเขียนยุคแรกของศาสนาพุทธ เช่น พระไตรปิฎก, อรรถกถา ไม่มีการระบุถึงบทบาทของพระธรณีในตอนมารวิชัย อย่างไรก็ตามหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่มีการระบุถึงพระธรณีในตอนมารวิชัยคือลลิตวิสตระในนิกายมหายาน แต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 8 โดยระบุว่าพระธรณีได้เสด็จมาแสดงความยินดีร่วมกับเทวดาองค์อื่น ๆ หลังพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ในศิลปะอินเดียยุคราชวงศ์คุปตะปรากฏการสร้างพระธรณีในรูปสตรีนั่งอยู่ประกอบฉากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในฐานะของเทพเจ้าแห่งพื้นดิน (ซึ่งอาจหมายถึงพระภูเทวีหรือเทพเจ้าที่คล้ายคลึงกันองค์อื่น ๆ ) ในท่าทางพนมมือหรือถือหม้อกลัศ[4] อาจารย์เชษฐ์ ติงสัญชลีได้ให้ความเห็นว่าเป็นหม้อซึ่งบรรจุน้ำทักษิโณทกของพระพุทธเจ้าในชาติต่าง ๆ ก่อนตรัสรู้[5] คติลักษณะการบีบมวยผมของพระแม่ธรณีนั้นปรากฏพบเฉพาะในภูมิภาคไทย ลาว พม่า และเขมรเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏชัดเจนว่าเริ่มต้นมีความเชื่อนี้ตั้งแต่เมื่อใด[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระธรณี http://www.seasite.niu.edu/burmese/cooler/Chapter_... http://dsal.uchicago.edu/cgi-bin/philologic/search... //hdl.handle.net/10092%2F4350 https://books.google.com/books?id=AqSAQpCOifoC&pg=... https://books.google.com/books?id=C8QDtGFOxNYC&pg=... https://books.google.com/books?id=EVpSSigMi4cC&pg=... https://books.google.com/books?id=LReQ_nw9HEMC&pg=... https://books.google.com/books?id=WlfYAAAAMAAJ https://books.google.com/books?id=a72gff91-u0C&pg=... https://books.google.com/books?id=n2FpRCam224C&pg=...