การศึกษา ของ พระธรรมเจดีย์_(อุ่ม_ธมฺมธโร)

ปีระกา พ.ศ.2428 เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค ครั้นพระครูธรรมจริยาภิรัติ ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสาสนานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒาราม อาพาธหนัก ถวายพระพรลาสึกแล้วถึงแก่กรรม ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒารามว่าง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งเป็นพระครูธรรมจริยาภิรัติเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.2436 ต่อมาในปีจอ พ.ศ. 2441 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง 1 ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม แปลได้อีกประโยค 1 รวมเป็น 4 ประโยค

อายุ ๑๙ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วมาอยู่วัดราชบูรณะ กรุงเทพฯ เป็นศิษย์ศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(แสง) เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิวงศาจารย์บ้าง กับพระเทพมุนี(อิ่ม) เมื่อครั้งยังเป็นเปรียญบ้าง ถึงปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๒๔ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(แสง) จัดให้อุปสมบทในคณะสงฆ์รามัญ ณ วัดบ้านใหม่ตลาดเนื้อ จังหวัดปทุมธานี โดยมีพระไตรสรณะธัชตฤก เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วกลับมาอยู่วัดราชบูรณะตามเดิม

สมณศักดิ์

ปีมะเส็ง พ.ศ.2436 เป็นพระครูธรรมจริยาภิรัต

ปีฉลู พ.ศ.2444 เป็นพระวรญาณมุนี

ปีระกา พ.ศ.2452 เป็นพระราชมุนี

ปีกุน พ.ศ.2454 เป็นพระเทพสุธี

ปีระกา พ.ศ.2464 เป็นพระธรรมเจดีย์

ครั้นเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ด้วยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ฤทธิ) ถึงมรณภาพ จึงโปรดอาราธนามาครองวัดอรุณราชวราราม เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2457

พระธรรมเจดีย์(อุ่ม ธมฺมธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ 9

มรณภาพ

พระธรรมเจดีย์(อุ่ม) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ 9 มรณภาพเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2467 อายุ 65 ปี 43 พรรษา[2]

ใกล้เคียง

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พระพรหมพัชรญาณมุนี (ฌอน ชยสาโร) พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) พระธรรมวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) พระธรรมวชิรสุตาภรณ์ (สุพจน์ โชติญาโณ) พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร)