สมเด็จพระสังฆราช ของ พระธรรมไตรโลก_(ชื่น)

พ.ศ. 2324 อันเป็นปีสุดท้ายแห่งรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ได้ถูกถอดจากตำแหน่งเนื่องจากได้ถวายวิสัชนาร่วมกับ พระพุฒาจารย์ วัดบางหว้าน้อย (วัดอมรินทราราม) และพระพิมลธรรม วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนหรือวัดโพธิ์) เรื่องพระสงฆ์ปุถุชนไม่ควรไหว้คฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคล เนื่องจากคฤหัสถ์เป็นหินเพศต่ำ พระสงฆ์เป็นอุดมเพศที่สูง เพราะทรงผ้ากาสาวพัสตร์และพระจาตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ ดังความว่า

“ถึงมาตรว่าคฤหัสถ์เป็นพระโสดาก็ดี แต่เป็นหินเพศต่ำ อันพระสงฆ์ถึงเป็นปุถุชน ก็ตั้งอยู่ในอุดมเพศอันสูง เหตุทรงผ้ากาสาวพัสตร์ และพระจตุปาริสุทธิศีลอันประเสริฐ ซึ่งจะไหว้นบคฤหัสถ์ อันเป็นพระโสดานั้นก็บ่มิควร”

ข้อวิสัชนาดังกล่าวนี้ไม่ต้องพระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระสังฆราช ลงมาเป็นพระอนุจร (พระธรรมดา) แล้วทรงตั้งพระโพธิวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช และตั้งพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระวันรัต

เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2325 แล้ว ก็โปรดให้ถอดยศสมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) วัดหงส์ฯ ลงเป็นพระธรรมธิราราชมหามุนี ทั้งนี้ทรงมีพระปรารภว่า "มีความรู้มาก เสียดายแต่ว่ามีสันดานสอพลอ" จากนั้นก็โปรดสถาปนาพระอาจารย์ศรี วัดระฆังโฆสิตาราม ขึ้นดำรงสมณฐานันดรศักดิ์ที่ "สมเด็จพระสังฆราช" อีกคำรบหนึ่ง จึงเป็นว่า พระสังฆราช (ศรี) วัดระฆัง ได้เป็นสังฆราชสองหน พระพุทธาจารย์และพระพิมลธรรมนั้น ก็ทรงโปรดให้คืนครองสมณศักดิ์และตำแหน่งดังเดิม และโปรดให้กลับครองวัดเก่าที่เคยสถิต[1]

ใกล้เคียง

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พระพรหมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) พระพรหมพัชรญาณมุนี (ฌอน ชยสาโร) พระธรรมโพธิมงคล (สมควร ปิยสีโล) พระธรรมวชิรสุตาภรณ์ (สุพจน์ โชติญาโณ) พระธรรม (ศาสนาพุทธ) พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ)