เจ้าเมือง ของ พระธาดาอำนวยเดช

พงศาวลีของพระธาดาอำนวยเดช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ท้าวหล้า (ภายหลังเป็นพระรัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ท้าวภูทอง (ภายหลังเป็นพระรัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ท้าวสีลัง (ภายหลังเป็นพระยาขัติยะวงษา เจ้าเมืองร้อยเอ็ด)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระรัตนวงษา (ชมภู) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ คนที่ 12
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระรัตนวงษา (ท้าวคำสิงห์) สมรสกับญาแม่โซ่นแป้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระธาดาอำนวยเดช (ท้าวพรม)
 
 
 
 
 
 
 
พระขัติยะวงศา (เจ้าสุทนต์มณี) (เจ้าเมืองร้อยเอ็ด) มีบุตรชาย 3 คน ท้าวศีลัง,ท้าวภูทอง,ท้าวหล้า
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


พระยาอำนวยเดช (พรม) เกิดปีระกา เดือน 9 พ.ศ. 2395 ในขณะที่บิดาดำรงตำแหน่งเป็นอุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิในปี พ.ศ. 2413 ขณะท้าวพรหมมามีอายุได้ 18 ปี บิดาได้ส่งไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กเพื่อเรียนวิชาการเมืองการปกครอง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นท้าวมหาไชย ตำแหน่งราชบุตรเมืองสุวรรณภูมิ เมื่อมีอายุ 22 ปีรับราชการที่เมื่องสุวรรณภูมิ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพรหมพิทักษ์ ต่อมา พระรัตนวงศา (คำสิงห์) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ให้ยกบ้านเมืองหงห์ เป็นเมืองของหลวงพิทักษ์ และขอพระศรีราชา (สอน) ผู้น้องเป็นอุปฮาดให้ขึ้นตรงต่อเมืองสุวรรณภูมิ ระยะทาง 50 ก.ม.

วันจันทร์ที่ - ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2425 พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระธาดาอำนวยเดช ตำแหน่งเจ้าเมือง แต่มิได้ตั้งที่ว่าการเมืองตามพระกระแสตราโปรดเกล้าฯ พระธาดาอำนวยเดช (หลวงพรหมพิทักษ์) กับพระศรีราชา (สอน) ได้มาตั้งที่ว่าการเมืองอยู่ที่ บ้านเปลือยหัวช้าง ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับนามเจ้าเมืองคือ “ท้าวพรหม” ชื่อเมือง “จตุรพักตรพิมาน” ซึ่งแปลว่า ที่อยู่ของเทพเจ้าผู้มีสี่หน้า พระธาดาอำนวยเดช เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2443 ต่อมาทางการได้ยุบเมืองให้เป็น อำเภอ ขึ้นตรงกับ เมืองร้อยเอ็ดเพราะระยะทาง เพียง 26 ก.ม