ตำนานพระธาตุจอมคีรี ของ พระธาตุจอมคีรี

จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา สรุปได้ความเดิมทีเดียวเป็นวัดเก่าร้าง มีเจดีย์เก่า ๆ อยู่ก่อนแล้ว และตามตำนานบอกว่าเดิมชื่อพระธาตุจอคีรี ในสมัยอาณาจักรพะเยาประมาณปี พ.ศ.1848 มีนามเดิมว่าเมืองภูกามยาว มีพ่อเมืองปกครองในฐานะกษัตริย์ ในครั้งนั้น พ่อเมืองของภูกามยาวพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พญาคำแดง (พระราชโอรสของพญางำเมือง) ซึ่งมีพระราชโอรสทรงพระนามว่าเจ้าหลวงคำลือต่อมาได้ขึ้นครองราชต่อพระราชบิดามีพระราชอิสริยายศเป็นพญาคำลือ(หรือที่ชาวเมืองเรียกขานพระนามว่าพญาห้าว) คราวหนึ่งเจ้าหลวงคำลือ พาอำมาตย์เสด็จประพาสป่าเป็นเวลานาน 9 วัน

วันหนึ่ง ขณะที่ พญาคำลือทรงม้า อยู่บนเขาแห่งหนึ่ง พระองค์ทอดพระเนตรเห็นกวางงามตัวหนึ่งสีนำตาลปนแดง ยามแสงสุริยาต้องกับเส้นขนทำให้ดูคล้ายดั่งทอง (เรียกกวางชนิดนี้ว่าฟานฅำหรือกวางฅำ) พระองค์จึงรับสั่งให้พวกเสนาอำมาตย์ที่เป็นพรานไพรทั้งหลายพยายามคล้องบ่วงเชือกจับกวางนั้นมาให้ได้แต่พวกพรานทั้งหลายก็จับไม่ได้แม้แต่คนเดียวแถมมิหนำซ้ำ กวางยังไล่ขวิดนายพรานหลายคนลอยขึ้นบนอากาศทำให้พระองค์แปลกใจมาก เพราะพรานไพรต่างเข็ดขยาดไม่กล้าเข้าไปคล้องบ่วงเชือกกวางอีก และพระองค์แม้จะชำนาญในการคล้องเชือกเอาสัตว์นานาชนิดได้อย่างแม่นยำ แต่คราวนี้กลับผิดพลาดไปหมด ทว่ากวางนั้นไม่กล้าขวิดพระองค์ เอาแต่วิ่งหนีอย่างเดียว พระองค์ทรงวิ่งไล่ตามกวางนั้นไปเป็นระทางไกลแสนไกล จากเมืองภูกามยาวผ่านเวี่ยงฮ่องจ้าง(ตำบลโรงช้าง) เวียงแซ่ลุน(ตำบลป่าแงะ)มาถึงเขาลูกหนึ่ง (ซึ่งใกล้อยู่กับเวียงลอ และทางพะเยาเรียกเมืองที่ตั้งของดอยลูกนี้ว่าเวียงปากบ่องอันหมายถึงเมืองที่มีแม่น้ำสองสายสบกันเป็นปากแม่น้ำ คือแม่น้ำภูงาม(พุง)แม่นำสายตา(อิง)ส่วนทางเชียงรายเรียกว่าเวียงปากน้ำ ("จากตำนานที่พญางำเมืองมอบ5หัวเวียงให้กับพญามังรายเพื่อขอหย่าศึก") จนกวางนั้นหายลับไปกับตา ในที่สุดพระองค์ก็ทอดพระเนตรเห็นผู้หญิงคนหนึ่งรูปโฉมชวนพิศวงยิ่งนัก มีดวงตาประดุจตากวาง ทำให้พระองค์พลั้งวาจาออกไปว่าพระองค์มีบุญมากที่ได้พบนางเทพธิดาเจ้าป่าอย่างนี้ นางจึงเอ่ยปากถามว่าพระองค์เป็นใครมาจากไหน เมื่อพระองค์ทรงเล่าเรื่องให้ฟังนางได้ทราบตลอด นางจึงบอกแก่พระองค์ว่านางมิได้เป็นเทพธิดา และไม่ทราบมาจากไหนเช่นกัน ทราบแต่เพียงว่ามีฤๅษีตนหนึ่งได้เก็บมาเลี้ยงไว้เท่านั้น พระองค์ขอติดตามนางเข้าไปหาฤๅษี แต่นางบอกว่าพระฤๅษีอยู่ในถ้ำไกลมากซึ่งอยู่ในทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระองค์ทรงทราบดีว่าเหตุการณ์ทำนองเดียวกันปรากฏต่อพระบิดา คือพญาคำแดงมาครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งคราวนั้นพญาคำแดงได้ติดตามนางเข้าไปในถ้ำและหายตัวไปไม่กลับมาอีกเลยปัจจุบันถ้ำแห่งนั้นคือ"ถ้ำเชียงดาว" อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนถ้ำที่หญิงสาวดังกล่าวบอกพญาคำลือปัจจุบันคือ "ถ้ำผาไฟ" ในอำเภองาว จังหวัดลำปาง หลังจากทราบที่ไปที่มาของหญิงสาว พระองค์จึงถามนางต่อว่ามีประสงค์ใดถึงมาที่แห่งนี้ หรือพระฤๅษีมีธุระอันใดใช้ให้มา นางตอบว่าพระฤๅษีให้มาแสวงหาที่ปลอดสัตว์ (บริเวณที่สัตว์จะปลอดภัย) เพื่อปลดปล่อยสัตว์ที่มนุษย์ถูกรังแกหรือหมายจะเอาชีวิตของเขาทั้งหลาย เพราะพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรดสัตว์ในบริเวณนี้ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล และตรัสกับโมคคัลลานะ และ พระสารีบุตรว่าในอนาคตการณ์ บริเวณแห่งนี้จักเป็นสถานที่คงไว้ซึ่งพระศาสนา บริเวณที่นางปรารภถึงคือบริเวณม่อนคีรีหรือดอยคีรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเมืองภูกามยาวไป 40 กว่ากิโลเมตร) และหลังจากนั้นนางได้กราบทูลลาพญาคำลือและเดินจากได้ประมาณ 7 ก้าว จึงกลายเป็นกวางทองวิ่งหายไปในป่า

เมื่อพญาคำลือเสด็จกลับถึเมืองภูกามยาว ก็ทรงเรียกเหล่าเสนาอามาตย์ปรึกษา ว่าจะกระทำประการใด พอดีขณะนั้นพระมหาอุอะเส่ง (พระสงฆ์จากพม่า) เดินทางจากเมืองม่าน (พม่า) เข้ามาในเมืองภูกามยาว ได้ถวายคำแนะนำแล้วอาสาจะไปแบ่งเอาพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งมีคนนำมาจากลังกาทวีปมาไว้ที่เมืองม่าน พญาคำลือ จึงให้เหล่าไพร่พลจัดขบวนตามพระมหาอุอะเส่ง ไปอันเชิญพระเกศาธาตุมา โดยพญาฅำลือให้ช่างผู้มีฝีมือ (ตระกูลช่างพะเยา) ทำช่อฅำ 7 ช่อ ช่อเงิน 7 ช่อ ช่อแก้ว 7 ช่อ สั่งทำพระอุบแก้ว ทอง เงิน (พระอบ) พระอุบทองและเงินล้วนประดับด้วยอัญมณีมีค่าอย่างสวยงามเตรียมไว้ เมื่อขบวนอัญเชิญพระเกสาธาตุ กลับมาถึงเมืองภูกามยาวพญาคำลือก็ให้ไพร่พลและชาวเมืองตั้งขบวนรับพระเกศาธาตุเข้าประตูเมือง เสียงประโคมกลอง ปี่ พาทย์ ฆ้อง สะล้อ ซึง ดุริยะดนตรี ดังกรึกก้องไปทั่วเมือง ทั้งการฟ้อนร่ายรำ ของชาวเมือง ด้วยความปิติยินดี ท้องฟ้าที่มืดครึ้มฟ้าครึ้มฝนก็พลันสลายสว่างแจ้ง อย่างปฏิหาร ชาวเมืองภูกามยาวฉลองงานรื่นเริงถึง 7 วัน 7 คืน ก่อนที่จะอันเชิญพระเกศาธาตุ ไปยอดดอยคีรี ชาวเมืองเวียงปากบ่อง เวียงฮ่องจ๊าง เวียงแซ่ลุน เวียงเชียงเคี่ยน เวียงลอ และชาวเมืองใกล้เคียงเมื่อได้ทราบข่าวก็พากันเดินทางมาที่ดอยคีรี เพื่อที่จะนมัสการพระเกศาธาตุ และชาวเมื่องต่างยินดี ร่วมกันประโคมดนตรีร่ายรำฟ้อนรับขบวนแห่ขบวนช้างอันเชิญพระเกศาธาตุ ตั้งแต่ปากประตูเวียงปากบ่อง จนไปถึงยอดดอยคีรี เมื่อมาถึงยอดดอยพญาคำลือจึงได้ไปที่โขดหินใกล้ ๆ กับที่พบทางกวางทองพร้อมอัญเชิญพระอุบที่บรรจุพระเกศาธาตุทางอัญเชิญไว้บนพานทองวางบนโขดหินที่ถูกสร้างหลังคามุงไว้ และหลังจากนั้นได้อธิฐานจิตภาวนาหมายจักขอสร้างพระธาตุไว้เพื่อบรรจุพระเกศาธาตุพลัน ก็เกิดปฏิหารไม่ทันได้สร้างพระธาตุ พระอุบที่บรรจุพระเกศาธาตุค่อย ๆ จมหายไปในพื้นดิน จึงมีคำสั่งให้สร้างพระธาตุองค์ใหญ่ครอบบริเวณที่นั้นไว้ การก่อสร้างพระธาตุใชเวลาหลายเดือนจึงก่อสร้างพระธาตุองค์ใหญ่สีเหลืองทองอร่ามขึ้น ต่อมาผู้คนต่างหลังไหลมาตั้งรกรากมากขึ้นจนเป็นเมืองใหญ่ ณ บริเวณแห่งนี้ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าหมู่บ้านเวียงเดิม ต่อมาเกิดยุคสงคราม เวียงปากบ่องหรือเวียงปากน้ำ เป็นทางผ่านขบวนทัพศึก ผู้คนสมัยนั้นก็พากันหลบหนีไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองทิ้งให้บ้านเมืองร้าง พระธาตุบนม่อนดอยคีรีก็ไม่มีผู้คนบูรณะดูแลก็ทรุดโทรม มีโจรเข้ามาขุดหาสมบัติที่ฝั่งไว้ในตัวองค์พระธาตุ ทำให้พระธาตุองค์เดิม ทลายลงเหลือเพียงเศษซากของอิฐ ต่อมาหลังหมดยุคสงครามหลายปีต่อก็มีผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เวียงเก่าแห่งนี้อีกครั้ง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2489 พระครูบาศรีชัย นักบุญแห่งล้านนาได้รับรู้ด้วยญานจึงเดินทางแสวงบุญมาที่หมู่บ้านป่าแดด อำเภอพาน(ปัจจุบันคืออำเภอป่าแดด) จังหวัดเชียงราย พบเศษซากอิฐโบราณ มากมายที่ถูกทับถม จึงได้ปรึกษาพระครูบาเจ้าศิริปัญญา เจ้าคณะตำบลป่าแดด ในสมัยนั้น และชักชวนชาวบ้านในสมัยนั้นให้ช่วยกันสร้างก่อพระเจดีย์ใหม่เข้าทับตรงเจดีย์เก่าอีกครั้ง โดยตั้งชื่อว่าพระธาตุจอมคีรี ตามชื่อเดิมของม่อนคีรีและเรียกสืบกันมาว่าพระธาตุจอมคีรี จอมคีรี อันหมายถึง ม่อนดอยอันยิ่งใหญ่ที่ธำรงค์ไว้แห่งศาสนา ตราบถึงทุกนี้