พระประวัติ ของ พระนางชอริน

พระนางเป็นธิดาของ คิมมุนกึน (ฮันกึน: 김문근, ฮันจา: 金汶根) และท่านผู้หญิงฮึงยัง จากสกุลมิน ภริยาคนที่สอง ซึ่งพระนางอยู่ในสายของอันดง คิม และได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าช็อลจง ในปี พ.ศ. 2394

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2407 พระเจ้าช็อลจงเสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ซึ่งในขณะดังกลุ่มอันดง คิม เป็นกลุ่มที่ทรงอำนาจทางการเมืองมากที่สุด ซึ่งได้มาจากการสมรสกับราชวงศ์ลี การเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไปอยู้ในอำนาจของพระมเหสีหม้ายสามพระองค์ คือ พระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง พระราชมารดาของ พระเจ้าฮ็อนจงแห่งโชซ็อน, พระนางฮโยจ็อง พระพันปีหลวง พระมเหสีของพระเจ้าฮ็อนจง และพระราชานีซอริน พระมเหสีของพระเจ้าช็อลจง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตามธรรมเนียมที่แท้จริงคือ พระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง เนื่องจากเป็นพระพันปีหลวงที่มีอาวุโสสูงสุด ซึ่งมาจากกลุ่มพุงยัง โจ และเป็นกลุ่มที่เป็นศัตรูทางการเมืองของพระนางซอริน ที่อยู่ในกลุ่ม อันดง คิม

ในขณะที่พระราชีนีซอริน เป็นพระมเหสีของพระเจ้าช็องจง และเป็นสมาชิกของกลุ่มอันดง คิม ก็ได้กล่าวอ้างสิทธิที่จะเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ถึงแม้ธรรมเนียม พระพันปีหลวงที่มีอาวุโสสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวที่จะมีสิทธิเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ซึ่งพระนางซินจ็อง พระพันปีหลวง ถือสิทธิดังกล่าวอยู่

ในขณะที่พระเจ้าช็อลจงประชวรหนัก อี ฮา-อึง หรือ อนาคตแทว็อนกุนฮึงซ็อน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าอินโจ ซึ่งพระบิดาของเขาเป็นบุตรบุญธรรมขององค์ชายอึนซิน พระราชนัดดาของพระเจ้าย็องโจแห่งโชซ็อน ได้เข้าหาทางพระนางซินจ็อง ซึ่งสาขาสกุลของอี ฮา-ฮึง ก็ได้อยู่ในสายที่จะสืบราชสมบัติได้ และเป็นสายที่อยู่รอดจากวิกฤติทางการเมืองในขณะนั้น และไม่ได้สร้างความขัดแย้งกับผู้ใด แต่ตัว อี ฮา-อึง ก็ไม่มีสิทธิขึ้นครองราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาล ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นรัชทายาทสืบต่อราชสมบัติจากกษัตริย์พระองค์ก่อนต้องเป็นบุคคลรุ่นหลังจากกษัตริย์พระองค์ก่อน ทำให้ อี อย็อง-บ๊ก โอรสของอี ฮา-อึง ซึ่งเป็นบุคคลรุ่นหลังพระเจ้าช็อลจง มีสิทธิที่จะสืบราชสมบัติ

พระนางซินจ็อง แห่งกลุ่มพุงยัง โจ มองเห็นว่าอี มย็อง-บก ซึ่งขณะนั้นอายุ 12 พรรษา ไม่สามารถที่จะบริหารราชการด้วยพระองค์เองจนกระทั่งถึงอายุที่เหมาะสม และกลุ่มพุงยัง โจ หวังว่าจะใช้อิทธิพลของตนผ่าน อี ฮา-อึง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อ อี ม็อง-บก ขึ้นครองราชย์ ในไม่ช้าข่าวการสวรรคตของพระเจ้าช็อลจง ก็มาถึงหูอี ฮา-อึง จากสายลับของตนอยู่ในวัง จากนั้นอี ฮา-อึง และกลุ่มพุงยัง โจ ก็ได้เข้าครอบครองตราประทับของราชวงศ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามกฎหมายโดยชอบธรรม ถ้าผู้มีไว้ในครอบครองจะได้รับความชอบธรรมและการยอมรับจากกลุ่มชนชั้นสูง ซึ่งมีอำนาจอย่างเด็กขาดที่จะเลือกกษัตริย์พระองค์ต่อไป ในเวลาที่พระเจ้าช็อลจงสวรรคต ตราประทับอยู่กับพระนางซินจ็อง ทำให้อำนาจโดยชอบธรรมที่จะเลือกกษัตริย์องค์ต่อไปของพระนางซอริน และกลุ่มอันดง คิม หมดลง

ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2407 อี มย็อง-บก ได้รับการสถาปนาเป็นองค์ชายอิ๊กซ็อง โดยพระนางซินจ็อง วันต่อมา อี ฮา-อึง ได้รับการสถาปนาเป็น แดว็อนกุน ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม องค์ชายอิ๊กซ็อง ได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าโคจง และพระนางซินจ็อง ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยอี มย็อง-บก ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ด้วยเหตุผลว่า "เป็นทายาทสืบหลายโลหิตของสกุลลี ที่ยังมีชีวิตอยู่และเหมาะสม ประกอบกับมีสายโลหิตใกล้ชิดกับราชวงศ์"

ในขณะที่พระเจ้าโคจงยังทรงพระเยาว์ พระนางซินจ็องได้เชิญให้แดว็อนกุนมาเป็นผู้ช่วยเหลือพระเจ้าโคจงบริหารราชการแผ่นดิน ต่อมาพระนางซินจ็องได้สละสิทธิที่จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คงเหลือไว้แต่เพียงตำแหน่งเท่านั้น ส่วนพระนางชอริน สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2421

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางสิริมหามายา พระนางจามเทวี พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร