รัชสมัย ของ พระนางช็อนด็อกแห่งชิลลา

ในปี ค.ศ. 632 พระเจ้าจินพย็องสวรรคต เจ้าหญิงท็อกมานได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถช็อนด็อก เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกในทั้งหมดสามพระองค์ของอาณาจักรชิลลา (อีกสองพระองค์คือ พระนางจินด็อกแห่งชิลลาและพระนางจินซ็องแห่งชิลลา)

รัชสมัยของพระราชินีซ็อนด็อกเป็นช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรชิลลา โดยเฉพาะทางด้านศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในรัชสมัยของพระนางพระพุทธศาสนาได้เข้ามาประดิษฐานในอาณาจักรชิลลาอย่างแท้จริง โดยพระภิกษุชาจัง (Jajang; เกาหลี: 자장 慈藏) ผู้เดินทางไปยังเมืองฉางอันของราชวงศ์ถังเพื่อเก็บเกี่ยวศึกษาพระพุทธศาสนาและนำกลับมาเผยแพร่ เป็นผู้ให้กำเนิดคณะสงฆ์กลุ่มแรกของอาณาจักรชิลลาและผลักดันให้มีการสร้างวัดขึ้นหลายแห่ง นอกจากนี้ในรัชสมัยของพระนางยังมีการสร้างหอดูดาวช็อมซ็องแด (เกาหลี: 첨성대) อันเป็นหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเท่าที่หลงเหลืออยู่

ในรัชสมัยของพระราชินีซ็อนด็อก อาณาจักรชิลลาได้แผ่ขยายอำนาจเข้ารุกรานอาณาจักรแพกเจซึ่งในขณะนั้นปกครองโดยพระเจ้ามู (Mu of Baekje) ผู้เป็นน้องเขยของพระราชินีซ็อนด็อก โดยฝ่ายชิลลามีขุนพลที่มีความสามารถคือ คิม ยูชิน (Kim Yushin; เกาหลี: 김유신) เป็นผู้นำทัพชิลลาเข้ารุกรานและต้านทางการรุกรานของแพกเจ

ค.ศ. 647 ขุนนางชื่อว่าพีดัม (Bidam; เกาหลี: 비담) ผู้ดำรงตำแหน่งซังแดดึง (เกาหลี: 상대등) หรืออัครมหาเสนาบดีแห่งอาณาจักรชิลลา ได้ก่อการกบฏต่อพระราชินีซ็อนด็อก โดยมีคำขวัญว่า "สตรีไม่อาจปกครองประเทศได้" พีดัมอ้างว่าดาวประจำองค์ราชินีซ็อนด็อกนั้นได้หายไป เป็นสัญญาณว่ารัชสมัยของพระนางได้สิ้นสุดลงแล้ว ตำนานกล่าวว่าฝ่ายคิมยูชินถวายคำแนะนำให้ส่งคนไปลอยว่าวในตำแหน่งที่เป็นดาวดวงนั้นเพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่าดาวประจำองค์ราชินีซ็อนด็อกนั้นยังคงอยู่ จากนั้นคิมยูชินจึงนำทัพเข้าปราบกบฏของพีดัมได้อย่างราบคาบ อัครเสนาบดีพีดัมถูกประหารชีวิต แต่ทว่าพระราชินีซ็อนด็อกสิ้นพระชนม์ระหว่างที่มีการปราบกบฏนั้นเองในค.ศ. 647

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางจามเทวี พระนางสิริมหามายา พระนางจิรประภาเทวี พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนางวิสุทธิเทวี พระนาย สุวรรณรัฐ พระนางศุภยาลัต