ประวัติ ของ พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา_(เลโอนาร์โด_ดา_วินชี)

ในปี ค.ศ. 1498 เลโอนาร์โดศึกษาการวางตัวแบบทั้งสามในรูปเดียวกันโดยร่างภาพ “พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนาและนักบุญยอห์นแบปติสต์” (หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน, อังกฤษ ) ซึ่งประกอบด้วยตัวแบบทั้งสามและนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์เมื่อยังเป็นเด็ก ภาพร่างอีกภาพหนึ่งที่วาดก่อนหน้านั้นตั้งแสดงอยู่ที่บาซิลิกาซานทิซซิมาอันนันซิอาตา ในปี ค.ศ. 1501 แต่ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว

ภาพนี้เป็นภาพที่เขียนในบั้นปลายชีวิตของเลโอนาร์โดเมื่อหันไปให้ความสนใจในด้านคณิตศาสตร์และอื่น ๆ เลโอนาร์โดอาจจะเขียนภาพไม่เสร็จเพราะมัวแต่ไปสนใจสิ่งอื่นๆ

นอกจากสัญลักษณ์เกี่ยวกับลูกแกะที่กล่าวข้างบนแล้ว ฟราปีเอโตร ดา โนเวลลาราผู้เป็นรองอธิการคณะคาร์เมไลท์ก็ยังให้ความหมายที่มีความสำคัญต่อภาพเพิ่มเติม ดา โนเวลลาราเชื่อว่าใบหน้าที่สงบของนักบุญอันนาที่ตรงกันข้ามกับความพะวักพะวนของพระแม่มารีย์ “อาจจะแทนความรู้สึกของทางสถาบันศาสนาที่ไม่ต้องการให้พระมหาทรมานของพระเยซูถูกระงับ”

โครงร่างของภาพเป็นแบบสามเหลี่ยมปิรามิดซึ่งมีอิทธิพลต่อราฟาเอลและอันเดรอา เดล ซาร์โต องค์ประกอบของภาพเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ประติมากรของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา อันเดรอา ซานโซวีโน (โบสถ์ซานอากอสติโน, โรม) และงานที่มีชื่อเสียงน้อยกว่าโดยฟรันเชสโก ดา ซันกัลโล (Francesco da Sangallo) (ออร์ซันมีเกเล เมืองฟลอเรนซ์)

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางจามเทวี พระนางสิริมหามายา พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร