พระราชประวัติ ของ พระนางเชงสอบู

มงกุฎของพระนางเชงสอบู ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ V&A, ลอนดอน

พระนางเชงสอบู เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราชแห่งอาณาจักรหงสาวดี เมื่อพระราชบิดาคือพระเจ้าราชาธิราชสวรรคต ผู้ที่ได้สืบราชสมบัติต่อมาคือ พญาธรรมราชา แต่พระอนุชาของพระองค์ พระยาราม และพระยาแคง (พญาเกียรติ์) ไม่พอพระทัย จึงไปสวามิภักดิ์กับ พระเจ้าสีหตู แห่งกรุงอังวะ พญาธรรมราชาไม่ปรารถนาที่จะรบพุ่งกับพม่า พระองค์จึงได้ประนีประนอมกับพระอนุชาโดยให้พระยารามเป็นมกุฎราชกุมารไปครองเมืองพะสิม และพระยาแคง (พญาเกียรติ์) ไปครองเมืองเมาะตะมะ ครั้นถึงสมัยรัชกาลของพระยาราม พระองค์ได้นำพระขนิษฐาคือพระนางเชงสอบูส่งไปถวายแก่พระเจ้าสีหตูแห่งกรุงอังวะ ซึ่งเป็นการตอบแทนที่ได้ช่วยเหลือพระองค์ในการครองราชย์ที่กรุงหงสาวดี ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 29 พรรษา เป็นแม่ม่ายมีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 2 พระองค์ ได้แก่พญาพะโร (Binnya Waru), เนตาคาตอ (Netaka Taw) และเนตาคาถิน (Netaka Thin)[3]

ความขัดแย้ง

พระเจ้าสีหตูมีความหลงใหลเสน่หาแก่พระองค์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้ พระนางชีนโบ่แม พระมเหสีเก่าซึ่งมีสายสัมพันธ์กับทางไทใหญ่เกิดความอาฆาตริษยา พระนางชีนโบ่แมจึงไปสมคบคิดกับไทใหญ่ให้ยกทัพมาตีอังวะกลายเป็นสงครามที่รุนแรง พระเจ้าสีหตูทรงออกรบเองจนสวรรคตใน ค.ศ. 1425 พระเจ้ามี่นละแง กษัตริย์องค์ต่อมาก็สวรรตเพราะถูกพระนางชีนโบ่แมวางยาพิษ พระเจ้ากะเล่เจ้ตองโญ พระปิตุลาของพระเจ้ามี่นละแงจึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ต่อมา พระเจ้าโม่ญี่นตะโด้‎ ได้โค่นล้มพระเจ้ากะเล่เจ้ตองโญกับพระนางชีนโบ่แมแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์กรุงอังวะ

คืนสู่หงสาวดี

เมื่อพระมหาปิฎกธรพระสงฆ์ที่พระนางเชงสอบูทรงอุปถัมภ์ ทราบถึงความวุ่นวายการเมืองภายในอังวะ และพระนางเชงสอบูไม่สามารถกลับมายังเมืองหงสาวดีได้ จึงพาศิษย์สี่คนไปคิดกลอุบายพาพระนางเชงสอบูกลับสู่เมืองหงสาวดีได้สำเร็จ ส่วนพระมหาปิฎกธรมีความรู้สึกไม่สบายใจที่ตนเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิดกลอุบายดังกล่าวจึงขอลาสิกขา พญาพะโร พระโอรสของพระองค์ที่เกิดจากพระสวามีเก่าได้ครองเมืองหงสาวดีในปี ค.ศ. 1446[note 1] อยู่ในราชสมบัติได้เพียง 4 ปีจึงสวรรคต ภายหลังไม่เหลือเชื้อสายของพระเจ้าราชาธิราชที่เป็นชายสืบสกุล พระนางเชงสอบูจึงได้ขึ้นเสวยราชย์[4] และได้ตั้งพระมหาปิฎกธรเป็นรัชทายาท พระองค์อยู่ในราชสมบัติ 7 ปี ต่อมาได้มอบราชสมบัติให้พระมหาปิฎกธรเป็นกษัตริย์หงสาวดีและมีพระนามตามจารึกไว้ในหลักศิลากัลยาณีว่า พระเจ้ารามาธิบดี แต่พงศาวดารรามัญเรียกว่า พระเจ้าธรรมเจดีย์ หรือ พระมหาปิฎกธร [5]

ใกล้เคียง

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ พระนางจามเทวี พระนางสิริมหามายา พระนางจิรประภาเทวี พระนามของพระเป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระนางวิสุทธิเทวี พระนางศุภยาลัต พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร