พระราชประวัติ ของ พระบาทสมเด็จพระนโรดม_สุรามฤต

พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชายุคใหม่
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1)
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2)
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต ทรงมีพระนามโดยพิสดารว่า พระบาทสมเด็จพระนโรดม​สุรามฤต วิสุทธมหาขัตติยวงศ์ วิสิษฐ​หริพงศ์ คุณาดิเรก​ธรรมจริโยดม บรมบพิตร พระเจ้าพระราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเจ้าชีวิตเหนือหัว [1] เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2439 มีพระนามเดิมคือ นักองมจะ (หม่อมเจ้า) นโรดม สุรามฤต[2] พระโอรสของสมเด็จกรมพระนโรดม สุทธารส (ค.ศ. 1872 - 1945) กับพระองค์เจ้านโรดม พงางาม (ค.ศ. 1874 - 1944)[3] เป็นพระภาติยะ (ลูกพี่ชาย)[4]และพระชามาดา (ลูกเขย) ของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3

ทรงอภิเษกสมรสกับพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิริวัฒนา พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2463 มีพระราชโอรสองค์สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 4

หลังการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ ผู้เป็นพระราชโอรส เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (ภายใต้สังกัดพรรคสังคมราษฎร์นิยมของพระองค์เอง) พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตจึงได้ทรงขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมี่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2498 และทรงอยู่ในราชสมบัติตราบจนเสด็จสวรรคตเมี่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2503 ภายหลังการเสด็จสวรรคต ทรงได้รับการถวายพระนามว่า "พระมหากาญจนโกศ"

อนึ่ง ก่อนพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต จะทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลง "นครราช" เป็นเพลงชาติของกัมพูชา ร่วมกับครูเพลงชาวฝรั่งเศสอีก 2 คน[5][6]

ใกล้เคียง

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย