วิหารหน้าพระปรางค์สามยอด ของ พระปรางค์สามยอด

เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สภาพของวิหารคงเหลือเพียงผนังทั้ง 2 ข้างและผนังหุ้มกลองทางด้านทิศตะวันออก ส่วนเครื่องบนพังทลายไปหมดแล้ว ประตูของผนังหุ้มกลองด้านทิศตะวันออกก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งหรืออาร์ช (arch) แบบตะวันตก ส่วนประตูทางเข้าที่ผนังด้านข้างของวิหารและหน้าต่างที่ผนังด้านหลังของวิหารก่ออิฐเป็นซุ้มโค้งกลีบบัว (pointed arch) แบบศิลปะอิสลาม ป้จจุบันเหลือเพียงซุ้มหน้าต่างด้านทิศเหนือเท่านั้น โครงสร้างผนังของก่ออิฐหนาทึบสลับกับศิลาแลงบางส่วน อันเป็นเทคนิคที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่นเดียวกับกับอาคารที่สร้างขึ้นรัชสมัยนี้ที่นิยมก่อสร้างด้วยอิฐแทรกด้วยศิลาแลงเป็นชั้น ๆ เช่น พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ในพระราชวังโบราณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาคารหลายหลังในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ด้านหลังของวิหารยกเก็จเป็นกะเปาะเชื่อมต่อกับประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ซึ่งการยกเก็จเป็นกะเปาะนี้เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวิหารซึ่งนิยมสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เช่น พระที่นั่งจันทรพิศาล ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และวิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ ปางสมาธิ ทำจากศิลา

ใกล้เคียง

พระปรางค์สามยอด พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย) พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา) พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) พระประชาบดี พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระปรางค์สามยอด http://bidyarcharn.blogspot.com/2012/03/2537.html http://kmlopburi.com/index.php?option=com_content&... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/issn/0768-2530 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0011788... https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/%E0%B8%99%... https://web.archive.org/web/20160504130533/http://... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Phra_P... https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/att...