พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท_(เมฆ_รามางกูร)

พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัทหรืออาดยาหลวงปาดี พื้นพระบาทใช้ชาติออกนามเจ้าพระนมเมกเถ้า[1] อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรี ประดิษฐ์ รามางกูร ๒๒ กันยายน ๒๕๒๘ ออกนามย่อว่าหลวงปรานีพุทธบริษัท[2] นามเดิมท้าวเมฆหรือเมกทองทิบ (เมฆทองพิพย์) เป็นขุนโอกาส (เจ้าโอกาส) หรือนัยว่าเป็นเจ้าเมืองธาตุพนมลำดับ ๓ จากราชวงศ์เวียงจันทน์ เป็นหลานตาเจ้าพระรามราชฯ ขุนโอกาสธาตุพนมลำดับแรก[3] บิดาเป็นเจ้าเมืองท่าแขก ปู่เป็นเป็นเจ้าเมืองนครพนม ภรรยาเอกชื่อนางกองสีเป็นธิดาพระอุปฮาตหูเลเมืองบังมุก[4] พระอัคร์บุตร (บุนมี) หลานปู่เจ้าพระรามราชฯ ไม่สนับสนุนให้เป็นขุนโอกาสเนื่องจากเป็นหลานตาเจ้าพระรามราชฯ จึงเกิดเหตุวิวาททำให้พระอัคร์บุตร (บุนมี) หนีไปอยู่ฝั่งซ้ายน้ำโขง[5]หลัง พ.ศ. ๒๓๗๑ ราชวงศ์เวียงจันทน์ล่มสลายถูกลดบทบาทปกครองจากปัญหาความขัดแย้งมูลนายธาตุพนมและหนีจากธาตุพนมอยู่เซบั้งไฟฝั่งซ้ายน้ำโขง จากนั้นตำแหน่งขุนโอกาสว่างลงและถูกลดฐานะเป็นนายกองข้าพระธาตุพนม บิดาข้ามไปอยู่ในอารักขาฝรั่งเศส มารดาอยู่ธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔ หลังธาตุพนมถูกลดฐานะเป็นเพียงหมู่บ้าน ได้กลับมาโดยนำชาวบ้านบูรณะพระธาตุพนมสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) พื้นเมืองพนมระบุสิ้นเงินส่วนตัวถึงหมื่นหนึ่ง พื้นพระบาทใช้ชาติระบุว่าสร้างพระพุทธรูปถวายวัดพระธาตุพนมพร้อมพระปิตตาเจ้าท่าแขกผู้เป็นบิดาคนละองค์ ปัจจุบันไม่พบพระพุทธรูป[6] [7] และบูรณะวัดหัวเวียงรังษีซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลผู้ปกครองธาตุพนมร่วมกับพระอุปราชา (เฮือง)[8] พื้นพระบาทใช้ชาติหรือพื้นพระยาธรรมมิกราชระบุถึงพระองค์และเหตุการณ์ธาตุพนมเพียงสั้น ๆ ว่า ...สังกลาดได้ ๒ ฮ้อย ๖๐ ๒ ตัว อาดยาเจ้าพระปาดีเถ้าขว้ามคืนมาแต่ปากเซแล สังกลาดราซาได้ ๒ ฮ้อย ๖๐ ๓ ตัว เจ้าเมืองแสนแลเมืองจันเอาเจ้าหัวคูลอดมาซ่อมแปงทาดตุพระนม อาดยาเถ้าเมกเจ้าพระนมหยุดหยาวัดหัวเวียง แลหล่อพระเจ้าเมกทองทิบ พระปิตตาเจ้าท่าแขกหล่อพระเจ้าจันทองทิบถวายวัดพระนม สังกลาดราซาได้ ๒ ฮ้อย ๖๐ ๔ ตัว เดือน ๑๐ เจ้าพระนมเมกเถ้าตนหลานจุตติแล กำแพงโฮงหลวงเจื่อนลงของ...[9]

พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท_(เมฆ_รามางกูร)

ชายา อาดยานางกองสีธิดาพระอุปฮาต (เลหรือหูเล) เมืองมุกดาหาร
ราชวงศ์ เวียงจันทน์
พระนามเดิม ท้าวเมกทองทิบ
พระมารดา อาดยานางคำกองเกิดหล้าธิดาเจ้าพระรามราชฯ (ราม)
พระนามเต็ม พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท
พระบิดา พระยาพนมนครานุรักษ์ (จันทร์ทองทิพย์ มังคละคีรี) หรือท้าวสีหาบุตร เจ้าเมืองนครพนมและท่าแขก

ใกล้เคียง

พระปรางค์สามยอด พระปรมาภิไธย (พระมหากษัตริย์ไทย) พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา) พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) พระประชาบดี