ตำแหน่งหน้าที่การงาน ของ พระพณิชยสารวิเทศ_(ผาด_มนตธาตุผลิน)

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2457 ก็ได้รับราชการที่กระทรวงศึกษาธิการครั้งแรกในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับพระราชทานยศบรรดาศักดิ์ เป็นรองอำมาตย์เอก หลวงพณิชยสารวิเทศ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2458 และได้รับเชิญจากอธิบดีกรมศึกษาธิการให้ไปสอนพิเศษในวิชาบัญชี ภูมิศาสตร์ และภาษาอังกฤษแก่เสมียนในเวลากลางคืน และสอนพิเศษวิชาอังกฤษแก่นักเรียนเพาะช่าง

พ.ศ. 2459 ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา [1] ได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์ตรี และท่านได้สมัครเข้าเป็นเสือป่า ในกองเสือป่าหลวงรักษาดินแดน มณฑลนครศรีธรรมราช เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 2 ด้วย

พ.ศ. 2465 ได้ย้ายมารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดเบญจบพิตรอยู่ 4 ปี[2] ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์เป็น อำมาตย์โท พระพณิชยสารวิเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466

จากนั้นย้ายมาเป็นผู้กำกับคณะในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ซึ่งในขณะนั้นชื่อคณะ ใช้ชื่อตามราชทินนามของผู้กำกับคณะ ซึ่งคือ คณะพณิชยสารวิเทศ หรือคณะพญาไท วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน)

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสนาบดีกระทรวงธรรมการโปรดให้ย้ายไปทำงานในหน้าที่การเงินในกระทรวง เป็นผู้ตรวจบัญชี (หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นชื่อตำแหน่งหัวหน้ากองคลัง และยังเป็นหัวหน้ากองศาสนสมบัติที่โอนมาจากกระทรวงวังด้วย หากธรรมการจังหวัด ธรรมการมณฑลใดมีเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ต้องให้ท่านออกไปสะสางทุกราย)

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2472 ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ แล้วจึงได้รับพระราชทานยศเป็น อำมาตย์เอก

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2477 ท่านได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการแทนในตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย [3] และออกรับพระราชทานบำนาญเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 แต่ยังคงเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยต่อจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2485 สาเหตุที่ลาออกเพราะไม่ใคร่สบายเกี่ยวกับโรคกระเพาะ แต่ก็ยังมีผู้เชิญไปสอนพิเศษยังที่ต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2492 พระยาสฤษดิการบรรจง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟได้เชิญท่านไปสอนที่โรงเรียน และบรรจุเป็นข้าราชการรถไฟด้วย และสอนอยู่จนเกษียณอายุ

ใกล้เคียง

พระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนตธาตุผลิน) พระพุทธเจ้า พระพุทธชินราช พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) พระพุทธโสธร พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) พระพุทธชินสีห์ พระพรหม