ประวัติ ของ พระพิมลธรรม

สมณศักดิ์ที่ "พระพิมลธรรม" ปรากฏครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ว่าพระศรีสินซึ่งผนวชอยู่วัดระฆังเป็นผู้รู้พระไตรปิฎกและชำนาญพระเวท มีสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม์อนันตปรีชา ได้ปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม[1] ในทำเนียบตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงครั้งกรุงเก่า ระบุว่าพระพิมลธรรม วัดรามาวาส เป็นเจ้าคณะรองคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะรองคณะเหนือ แต่ก็มีข้อมูลว่า "พระพิมลธรรม" เป็นพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์ ทรงปรึกษาข้อราชการบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเรื่องโหราศาสตร์ เชื่อกันว่าทำนายได้แม่นยำมาก เช่น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ยกทัพไปตีเมืองอังวะ ครั้งนั้นพระยาสีราชเดโชถูกพม่าจับไป สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบข่าวก็ดำรัสสั่งตำรวจหลวงไปนิมนต์พระพิมลธรรม วัดระฆังเข้ามาให้จับยามดู พระพิมลธรรมตรวจดูแล้วถวายพยากรณ์ว่า พระยาสีหราชเดโชชัยจะสามารถหลุดฟื้นมาได้และกลับได้ชัยชนะ ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นไปตามคำทำนายนั้น [2]

ใกล้เคียง

พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ) พระพิรุณ พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) พระพิราพ พระพิมลพัฒนาทร (พวน วรมงฺคโล) พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร) พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) พระพิมลธรรม