พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ นิยมเรียกโดยย่อว่า พระพุทธนิมิต เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ มีพุทธลักษณะงดงาม และเป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร นิยมเรียกโดยย่อว่า วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ในตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขนาดและลักษณะพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ เป็นพระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี บ้างเรียกว่า ปางทรมานพระยามหาชมพู หล่อด้วยทองสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างประมาณ 4.5 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์[1] บ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำปีกุนด้วยประวัติการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นพร้อมวัดหน้าพระเมรุในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่อมาสันนิษฐานว่าได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปูนปั้น ที่ประดิษฐานอยู่ภายในเมรุทิศ เมรุมุมของระเบียงคต วัดไชยวัฒนาราม ที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์[2] วัดนี้ยังได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ วัดหน้าพระเมรุรอดพ้นจากการถูกทำลายเมื่อคราวเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุและพระประธานองค์นี้ และพระราชทานนามพระประธานว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ [3] โดย พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลที่ 3 ในขณะนั้นได้ปฏิสังขรณ์โดยรักษาแบบอย่างของเดิมไว้เป็นส่วนมาก รวมถึงคงลักษณะที่วัดนี้ไม่ได้ทำหน้าต่างไว้ มีแต่ช่องลูกกรงช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นแบบนิยมในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอนต้น สมัยนั้นพระอุโบสถยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งรวมถึงภาพภิกษุณี แต่ผู้ซ่อมแซมในสมัยต่อ ๆ มาได้ฉาบปูนขาวทับไว้เสียหมด[4]พระพุทธนิมิตมีการกล่าวถึงในงานวรรณกรรมของ สุนทรภู่ โดยกล่าวไว้ในนิราศภูเขาทองที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (หลังสิ้นรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมัยที่สุนทรภู่ได้รับราชการอยู่) ว่า...มาจดหน้าท่าวัดพระเมรุข้าม
ริมอารามเรือเรียงเคียงขนาน
บ้างขึ้นล่องร้องรำเล่นสำราญ
ทั้งเพลงการเกี้ยวแก้กันแซ่เซ็ง
...บ้างฉลองผ้าป่าเสภาขับ
ระนาดรับรัวคล้ายกับนายเส็ง
มีโคมรายแลอร่ามเหมือนสามเพ็ง (สำเพ็ง)
เมื่อคราวเคร่งก็มิใคร่จะได้ดู
...อ้ายลำหนึ่งครึ่งท่อนกลอนมันมาก
ช่างยาวลากเลื้อยเจื้อยจนเหนื่อยหู
ไม่จบบทลดเลี้ยวเหมือนเงี้ยวงู
จนลูกคู่ขอทุเลาว่าหาวนอน
...ได้ฟังเล่นต่างต่างที่ข้างวัด
ดึกสงัดเงียบหลับลงกับหมอน
ประมาณสามยามคล้ำในอัมพร
อ้ายโจรจรจู่จ้วงเข้าล้วงเรือ
...นาวาเอียงเสียงกุกลุกขึ้นร้อง
มันดำล่องน้ำไปช่างไวเหลือ
ไม่เห็นหน้าสานุศิษย์ที่ชิดเชื้อ
เหมือนเนื้อเบื้อบ้าเลอะดูเซอะซะ
...แต่หนูพัดจัดแจงจุดเทียนส่อง
ไม่เสียของขาวเหลืองเครื่องอัฏฐะ
ด้วยเดชะตบะบุญกับคุณพระ
ชัยชนะมารได้ดังใจปอง ฯ [5]ในกลอน 6 บทของนิราศภูเขาทองนี้ สุนทรภู่เล่าว่ามาจอดเรือพักที่ท่าน้ำข้างวัดหน้าพระเมรุ เพื่อจะพักผ่อนนอนหลับ รอไปสักการะเจดีย์ภูเขาทองในเช้าวันรุ่งขึ้น แต่คืนนั้นมีงานวัด พอพักหลับไปได้ กลางดึกมีเสียงกุกกักในเรือแสดงว่ามีคนเข้ามาค้นในเรือแล้วกระโดดน้ำหนีไป สุนทรภู่ที่ตกใจตื่นกับผู้ติดตามก็จุดเทียนขึ้นส่องและตรวจดูข้าวของ ก็พบว่าเครื่องอัฐบริขารที่ตั้งใจนำมานั้นยังอยู่ครบ ก็นึกถึงคุณงามความดีที่เคยบำเพ็ญมา ซึ่งก็คงหมายถึงที่ได้บวชเรียน และขอบคุณในพุทธคุณของพระพุทธรูปที่ช่วยให้ชนะผู้ร้ายได้ ดังที่กล่าวว่า '...ด้วยเดชะตบะบุญกับคุณพระ ชัยชนะมารได้ดังใจปอง...' คาดว่าคงพูดถึงพระพุทธนิมิต เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่แสดงถึงการเอาชนะมารขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ใกล้เคียง

พระพุทธเจ้า พระพุทธชินราช พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูป พระพุทธชินสีห์ พระพุทธโสธร พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี พระพุทธรูปแห่งบามียาน พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร) พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ