พระยอดเมืองขวาง_(ขำ_ยอดเพชร)
พระยอดเมืองขวาง_(ขำ_ยอดเพชร)

พระยอดเมืองขวาง_(ขำ_ยอดเพชร)

พันตรี พระยอดเมืองขวาง (พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2443) เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นข้าหลวง เจ้าเมืองคำม่วน เมืองคำเกิด สังกัดกองข้าหลวงเมืองลาวพวน ในบังคับบัญชาของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวง ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต่อสู้กับทหารฝรั่งเศส ในกรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)พระยอดเมืองขวาง เดิมชื่อ ขำ เป็นต้นสกุล ยอดเพ็ชร์ เกิดเมื่อปีชวด ร.ศ. 71 (พ.ศ. 2395) ที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของพระยาไกรเพ็ชร์ (มิตร กฤษณมิตร) เริ่มรับราชการเป็นข้าหลวงผู้ช่วยในกองข้าหลวงใหญ่นครจำปาศักดิ์ รักษาราชการกองข้าหลวงลาวกาว ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยอดเมืองขวาง ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองคำม่วน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2428 รับผิดชอบบ้านนาเป คำเกิด คำม่วน นากาย ปากพิบูลย์ และแก่งเจ๊ก มีอาณาเขตติดต่อกับเวียดนาม [1]ในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างการปักปันเขตแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสต้องการเมืองคำม่วน กองทหารนำโดยมองซิเออร์ลูซ (Luce) บังคับให้พระยอดเมืองขวางออกจากเมืองคำม่วน เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 แต่พระยอดเมืองขวางไม่ยินยอม จึงเกิดการสู้รบกันเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 เมื่อนายลูซ สั่งให้นายกรอสกุรัง พร้อมกับทหารญวน เข้ามาจับกุมหลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยของพระยอดเมืองขวาง ที่ตำบลนาหลักหิน ปลายด่านคำม่วนต่อกับเมืองท่าอุเทนของฝั่งไทย และเกิดการต่อสู้กัน ทำให้นายกรอสกุรังเสียชีวิตพร้อมกับทหารญวน 11-12 คน บาดเจ็บ 3 คน ฝ่ายทหารไทยเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 4 คน [2][3]จากเหตุการณ์นี้ นายออกุสต์ ปาวีไม่พอใจ กล่าวหาว่าพระยอดเมืองขวางเป็นฆาตกร บุกเข้าไปทำร้ายนายกรอสกุรังขณะนอนป่วยอยู่ในที่พัก และนำเรื่องขึ้นพิจารณาคดีในศาลรับสั่งพิเศษ รัชกาลที่ 5 โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร แม่ทัพใหญ่อีสานใต้เป็นประธานคณะผู้พิพากษา ซึ่งประกอบด้วย พระยาสีหราชเดโชชัย พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยาเทเวศวงศ์วิวัฒน์ พระยาธรรมสารนิติ์ พระยาฤทธิรงค์ พระยาธรรมสารเนตติ์ มีหลวงสุนทรโกษา และนายหัสบำเรอ อัยการเป็นทนายฝ่ายโจทย์ มีนายตีเลกี (William Alfred Tilleke ต่อมารับราชการเป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์ ต้นสกุล คุณะดิลก) และนายเวอร์นอน เพจ (Vernon Page ชาวอังกฤษ) เป็นทนายจำเลย [2]การพิจารณาคดีพระยอดเมืองขวาง ดำเนินเป็นเวลา 22 วัน ตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 16 มีนาคม พ.ศ. 2437 ศาลมีคำพิพากษาว่า พระยอดเมืองขวางไม่มีความผิดตามฟ้อง และให้ปล่อยตัวเป็นอิสระ สร้างความไม่พอใจให้กับนายลาเนสซัง ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน และขอให้จัดตั้งศาลผสมไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วยผู้พิพากษาฝรั่งเศส 3 คน เดินทางมาจากไซ่ง่อน สยาม 2 คน พิจารณาคดีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2437 และตัดสินให้จำคุกพระยอดเมืองขวาง 20 ปี ด้วยเสียงข้างมาก 3 เสียงของฝ่ายฝรั่งเศสพระยอดเมืองขวางถูกจำคุกอยู่ 4 ปี ก็ได้รับอิสรภาพ จากคำร้องขอของรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 [4] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานบำนาญให้เป็นพิเศษเดือนละ 500 บาท เขาได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษผู้รักชาติ ต่อมาได้ล้มป่วยด้วยวัณโรค และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 เมษายน ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443)[5] อายุได้ 48 ปี เป็นต้นสกุล "ยอดเพ็ชร์" และ "กฤษณมิตร"ชื่อของพระยอดเมืองขวาง ภายหลังได้มีการนำไปใช้เป็นชื่อค่ายทหาร 1 แห่ง และค่ายตำรวจตระเวนชายแดน 1 แห่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ ซึ่งได้แก่

ใกล้เคียง

พระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพชร) พระยอดฟ้า พระยอดเชียงราย พระอภัยมณี พระยศเจ้านายไทย พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระอานนท์ พระยาพิชัยดาบหัก พระอัญญาโกณฑัญญเถระ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระยอดเมืองขวาง_(ขำ_ยอดเพชร) http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tao&month... http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/20... http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp... http://www.bpptr3.go.th/tr3/history.html http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2432/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/00... http://210mc.rta.mi.th http://210mc.rta.mi.th/site/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%... https://web.archive.org/web/20071110202902/http://...