พระประวัติ ของ พระยาคำโสม

พระยาคำโสม ประสูติเมื่อปีชวด พ.ศ. 2287 มีพระอนุชาและพระขนิษฐารวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้[2]

  • พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 (นับเป็น "พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 3" ใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)")
  • พระยาคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4
  • พระยาธรรมลังกา พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2
  • พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5
  • เจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
  • เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
  • เจ้าอุปราชหมูหล้า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
  • พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1
  • เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
  • พระเจ้าบุญมา พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 2

พระเจ้าคำโสม อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงปทุมมา ต่อมาคือ แม่เจ้าปทุมมาราชเทวี และมีชายาอีกหลายพระองค์ อาทิ แม่เจ้าจันทรา แม่เจ้าจอมแก้ว