เหตุการณ์สำคัญ ของ พระยาชัยสุนทร_(เจียม)

•ปี พ.ศ. 2370 ตรงกับปีกุนนพศก จุลศักราช ๑๑๘๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โปรดให้กองทัพหลวงขึ้นมาปราบปามเมืองเวียงจันทน์ พระยาสุภาวดีแมรทัพได้ตรวจราชการทัพเมืองสกลนคร เจ้าเมืองกรมการเมืองไม่ได้เตรียมกําลังทหารลูกกระสุนดินดํา เสบียงอาหาร ไว้ตามคําสั่งแม่ทัพ แมรทัพเห็นว่าเจ้าเมืองสกลนครกระทําการขัดขืนอํานาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองสกลนครไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว ส่วนอุปฮาดหมาป้องไดีถึงแกรกรรมไปก่อนหน้านั้นแล้ว กรมการเมืองกาฬสินธุ์บางส่วนหลบหนีคือ ท้าววรบุตรเจียมหลบหนีไปยังบ้านขามเปี้ย(บริเวณตำบลบ้านแวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด)และท้าวหล้าได้หลบหนีไปยังบ้านผ้าขาวพันนาเมืองเก่าเขตเมืองสกลนคร พอทัพพระยาสุภาวดีเคลื่อนผ่านเมืองสกลนครท้าวรบุตรเจียมและท้าวหล้าได้นําไพร่พลและพี่น้องเข้าหาทัพพระยาสุภาวดีเพื่อช่วยในราชการสงครามและได้เข้าฟ้องโทษราชวงศ์(หมาฟอง) ว่าด้วยเดิมเป็นใจเข้าด้วยกับเจ้าอนุวงศ์ เมื่อพิจารณาได้ความจริงแล้ว แม่ทัพปรึกษาจะเอาตัวราชวงศ์(หมาฟอง) ขอทําราชการแก้ตัวจึงงดโทษไว้ แล้วบังคับให้กวาดคุมครอบครัวตัวฉกรรณ์ที่อพยพหนีจากเมืองกาฬสินธุ์ไปอยู่ที่เมืองสกลนครนั้นจํานวน 2,500 คน ลงไปอยู่ที่ด่านหนุมานภายหลังยกขึ้นเป็นเมืองกบินทร์บุรีเป็นอันมาก ยังคงเหลืออยู่ให้รักษาพระธาตุเชิงชุม แต่พวกเพี้ยศรีครชุม บ้านหนองเหียน บ้านจารเพ็ญ บ้านอ้อมแก้ว บ้านนาเวง บ้านพาน บ้านนาดี บ้านวังยัง บ้านผ้าขาว บีานพันนา เท่านั้น เมืองสกลนครจึงเป็นเมืองร้าง ไม่มีเจ้าเมืองปกครองประกอบกับเมืองกาฬสินธุ์เป็นเมืองร้างด้วยเช่นกัน

•ปี พ.ศ. 2371 เจ้าพระยาบดินทรเดชาเมื่อครั้งยังเป็นที่พระยาสุภาวดีได้มีใบบอกกราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯแต่งตั้งท้าววรบุตร(เจียม)บ้านขามเปี้ยย หลานพระยาไชยสุนทร(หมาแพง) ซึ่งมีความชอบในราชการสงคราม 2 ครั้ง คือ ครั้งตัดไม้ปากแพรกครั้งหนึ่งและครั้งที่สองเสบียงเมื่อตีหัวเมืองเวียงจันทน์ในราชการสงคราม ขึ้นเป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวหล้าาเป็นที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์และให้ท้าวลาวเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์และท้าวด่างเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุและให้ครอบครัวไพร่พลเมืองกาฬสินธุ์ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์กลับมาอาศัยที่แขวงเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม

•ปี พ.ศ. 2372 แม่ทัพจึงมีใบบอกท้องตราราชสีห์โปรดเกล้าให้พระยาไชยสุนทร(เจียม) แต่งราชวงศ์ราชบุตร กรมการเมืองกาฬสินธุ์เป็นนายกองคุมท้าวเพีย ไพร่ฉกรรจ์ 606 คน และบุตรภรรยาเมืองกาฬสินธุ์ไปรักษาราชการเมืองสกลนคร เมื่อแต่งท้าวเพียผู้อยู่รักษาเมืองสกลนครแล้ว จึงมีใบบอกขอตั้ง ท้าวอินทิสารบุตรอุปฮาดเมืองจันคนเก่าเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ท้าวพิมพ์บุตรจารย์เปียเป็นที่ราชบุตรเมืองกาฬสินธุ์และได้ฟื้นฟูเมืองกาฬสินธุ์หลังสงครามรวมทั้งบูรณะวัดวาอารามในเขตเมืองกาฬสินธุ์ให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองดังเดิม

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาพิชัยดาบหัก พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)