พระยาธาตุพระนม

พระยาธาตุ หรือ พระยาพระมหาธาตุเจ้า (พระยาธาดหรือพระยาทาด)[1] (ปกครองราว พ.ศ. ๒๑๑๐-๒๑๔๐) ปรากฏนามในเอกสารประวัติศาสตร์พระธาตุพนมว่าเป็นผู้ปกครองเมืองธาตุพนมซึ่งเป็นเมืองกัลปนาในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔) สมัยธาตุพนมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง โดยปกครองหลังพันเฮือนหินและพันซะเอ็ง (ข้าราชเอ็งหรือข้าซะเอ็ง) ในรัชสมัยพระยาโพธิสาลราช (ปกครองราว พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐)[2] นัยหนึ่งพระยาธาตุหมายถึงตำแหน่งพิเศษของเจ้าโอกาส (เจ้าโอกาด) หรือขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้ปกครองกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนม หลังรับแต่งตั้งเป็นผู้รักษานครต่อนดินพระมหาธาตุแล้วปรากฏนามพระยาธาตุในประวัติศาสตร์อีกครั้งราว ๓๐ ปีต่อมาในรัชสมัยพระวรวงศาธรรมิกราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. ๒๑๔๑-๒๑๖๕)

พระยาธาตุพระนม

ราชวงศ์ ศรีโคตรบูร
วัดประจำรัชกาล วัดพระธาตุพนม
ประสูติ ไม่ปรากฏ
พิราลัย เมืองธาตุพนม

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)