พระยานมาศสามลำคาน
พระยานมาศสามลำคาน

พระยานมาศสามลำคาน

พระยานมาศสามลำคาน เป็นคานหามขนาดใหญ่ กลางตั้งแท่นทำด้วยไม้สลักปิดทองประดับกระจกสี มีพนักโดยรอบ 3 ด้าน และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน ลักษณะเป็นแท่นซ้อนลด 4 ชั้น ย่อมุมไม้สิบสอง ชั้นบนสุดทำเป็นแผงราชวัตรจำหลักลายประดับกระจกกั้น เว้นช่องที่ส่วนหน้าและส่วนหลัง และมีมุขยื่นออกมา ฐานชั้นที่ 3 ประดับรูปครุฑแกะสลักโดยรอบ 38 ตัว ชั้นที่ 4 ประดับเทพนม 26 องค์ ตัวแท่นยานมาศตั้งยึดติดกับลำคานทั้ง 3 บนยานมีแผ่นไม้ขนาดใหญ่รูปแปดเหลี่ยมพร้อมขอเกี่ยว 4 ตัว ติดไว้ พื้นไม้ด้านบนทาสีแดง รอบข้างสลักลายปิดทอง เป็นที่สำหรับตั้งพระโกศให้มั่นคง คานทั้ง 3 เป็นไม้กลึงกลมทาสีแดง สร้างจากไม้เนื้อแข็งจำนวนสามลำ ปลายสลักเป็นหัวเม็ดปิดทองประดับกระจกสี ใช้พนักงานหาม 60 คน เวลาหามจริงใช้คน 2 ผลัด พระยานมาศสามลำคานองค์แรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อใช้อัญเชิญพระบรมโกศทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นครั้งแรก

พระยานมาศสามลำคาน

ประเภท ราชยาน[1]
น้ำหนัก
  • องค์ที่หนึ่ง (รหัส นช.541) 700 กิโลกรัม
  • องค์ที่สอง (รหัส 9789) 500 กิโลกรัม[2]
ผู้ออกแบบ ช่างสิบหมู่
ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร
เริ่มผลิตเมื่อ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (จำนวน 2 องค์)
ความยาว
  • องค์ที่หนึ่ง (รหัส นช.541) 7.73 เมตร
  • องค์ที่สอง (รหัส 9789) 8.24 เมตร[2]
ความสูง
  • องค์ที่หนึ่ง (รหัส นช.541) 1.78 เมตร
  • องค์ที่สอง (รหัส 9789) 1.10 เมตร[2]
แพลตฟอร์ม คานหาม

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาพิชัยดาบหัก พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)