พระยาพัทลุง_(ขุน)

พระยาพัทลุง (ขุน) หรือ ขุนคางเหล็ก (เกิด พ.ศ. 2277) เป็นบุตรชายของพระยาราชบังสัน (ตะตา) บุตรชายของพระยาพัทลุง (ฮุเซน) บุตรสุลต่านสุลัยมาน เกิดและเติบโตในกรุงศรีอยุธยา จึงพูดภาษาปักษ์ใต้ไม่เป็น เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุ 14 ปี ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้เข้าถวายตัวช่วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นครั้งแรก ตามเสด็จลงไปปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราช พ.ศ. 2312 ขณะนั้นอายุ 35 ปี จึงได้เป็นพระยาภักดีนุชิต สิทธิสงคราม ผู้ช่วยราชการนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2315 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯให้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ในราชทินนาม พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นเดียวกับบิดา พระยาราชบังสัน (ตะตา) ซึ่งมีราชทินนามว่า พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นกัน ทว่าสร้อยต่างกัน ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตก พระยาพัทลุง (ขุน) กับพี่น้องญาติๆ ได้พากันอพยพมาอยู่หมู่บ้านบริเวณใกล้ ๆ วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ไม่ห่างไกลกันนักกับพวกญาติ ๆ เชื้อสุลต่านสุลัยมาน ซึ่งตั้งเคหสถานอยู่ใกล้วัดหงส์รัตนาราม ในคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง ใน พ.ศ. 2315 พระยาพัทลุงได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ[1]ภรรยาพระยาพัทลุง(ขุน) คือ คุณหญิงแป้น น้องร่วมบิดามารดากับท้าวทรงกันดาล บุตร-ธิดา ที่สำคัญได้แก่

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)