ประวัติ ของ พระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี_(นิเมาะ)

มัสยิดยามูสร้างโดย พระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ)

พระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) เป็นบุตรคนที่สองของพระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ) อดีตเจ้าเมืองปัตตานี ครั้นพระยายะหริ่ง (นิตีมุง) ผู้เป็นพี่ชายถึงแก่พิราลัย ได้แต่งตั้งนิเมาะผู้น้องเป็นพระยายะหริ่งแทน[1]ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม" เจ้าเมืองยะหริ่ง ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี" ในตำแหน่งจางวางกำกับราชการเมืองยะหริ่ง และได้แต่งตั้งพระโยธานุประดิษฐ์ (นิโวะ) บุตรชายเป็น "รายามุดา" นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งบุตรชายเป็นกรรมการที่ปรึกษาเมืองยะหริ่งดังนี้ พระสุนทรรายา (นิโซะ) หลวงประชาภิบาล (นิแว) หลวงบุรานุมัติการ (นิตีมุง) ขุนอภิบาลบุรีรักษ์ (กูปัตตารอ) ขุนสิริบำรุง (นิแม) และพระวิเศษวังศา (นิกูวง) บุตรพระยายะหริ่ง (นิตีมุง) โดยได้สร้างวังขึ้นใหม่ว่าราชการเมือง ห่างจากวังของพระยายะหริ่ง(นิตีมุง) ลงไปทางทิศใต้ประมาณหกเส้นเศษ ในสมัยนิเมาะปกครองเมืองยะหริ่งได้สร้าง "มัสยิดยามู" ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอยะหริ่งในปัจจุบัน เมื่อพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าแต่งตั้งพระโยธานุประดิษฐ์ (นิโวะ) เป็นพระยายะหริ่งแทน ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม

สุสานพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ)

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาพิชัยดาบหัก พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)