ประวัติ ของ พระยายะหริ่ง_(นิยูโซฟ)

Pintu besar dan hadapan istana jammu ประตูวังยะหริ่งเดิม ถ่ายปี พ.ศ. 2443

พระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ) มีประวัติเล่าว่า รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปาตานีเสียเมืองให้แก่สยาม นิยูโซฟอายุเพียง 6 ขวบ ถูกนำตัวไปยังกรุงเทพพร้อมบิดาที่ชื่อวันฟาตัน ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากนายทหารท่านหนึ่งจนเมื่อเติบใหญ่มีโอกาสได้รับราชการอยู่ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หัวเมืองมลายูเกิดความวุ่นวาย และมีการสืบทราบว่า "นิยูโซฟ” มีเชื้อสายเจ้าผู้ครองเมืองปาตานี จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น "พระยาตานี”[1] ปกครองเมืองปัตตานี ตั้งที่ทำการ ณ กัวลาบือเก๊าะ บริเวณตำบลอาเนาะรูหรือโรงเรียนจ้องฮั้วในปัจจุบัน จนกระทั่งหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) รักษาราชการเมืองยะหริ่งถึงแก่อนิจกรรม เวลานั่นเมืองกลันตันเกิดความวุ่นวายระหว่างพระยากลันตัน (ตวนสนิปากแดง) และตนกูปะสา จึงได้โปรดเกล้าแต่งตั้งตนกูปะสาเป็นพระยาตานี และย้ายนิยูโซฟเป็นพระยายะหริ่ง ได้สร้างวังว่าราชการเมืองที่ตำบลบ้านยามู ริมลำน้ำเมืองยะหริ่งฟากทิศใต้

สุสานพระยายะหริ่ง นิยูโซฟ (ซ้าย) และอิสตรีนูรบีเซาะ บุตรีโต๊ะบานาวันซู (ขวา)

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)