พระยาศรีสุนทรโวหาร_(ฟัก_สาลักษณ)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) ตำแหน่ง เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นปูชนียบุคคลที่โดดเด่น ดังปรากฏอยู่ในยุคสมัยเดียวกับแหม่มแอนนาที่โด่งดัง โดยประวัติในเบื้องต้นนั้น สืบทราบมาว่าได้ผนวช และถือเป็นพระเถระธรรมยุติกนิกายชั้นเดิม 10 องค์ ดังปรากฏความไว้ในหนังสือสีมาวิจารณ์[1][2] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานไปยังลังกาทวีป แต่ครั้งยังทรงผนวช ปรากฏพระเถระทั้ง 10 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นคาถา ดังนี้ตสฺเสว ภูปตินฺทสฺส ปิโย กนิฏฺฐภาตุโกเถโร วชิรญาโณ จ ปาโมกฺโข คณเชฏฺฐโกเถโร พฺรหฺมสโร เจว เถโร ธมฺมสิริวฺหโยเถโร พุทธสิริ เจว เถโร ปญฺญาอคฺคนามโกเถโร ธมฺมรกฺขิโต จ เถโร จ โสภิตวฺหโยเถโร พุทธสณฺหนาโม เถโร ปุสฺสาภิธานโกเถโร สุวฑฺฒโน จาปิ สพฺเพ สมานทนฺทกาซึ่งนามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ ดังนี้นอกเหนือไปจากนั้น ยังปรากฏหลักฐานของพระยาศรีสุนทรโวหารในสมัยที่ยังผนวชว่าเป็นพระเถระที่สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค (ปากเปล่า) ได้ในลำดับต้น ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์[3] และยังได้เป็นพระกรรมวาจารย์[4] ของสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งยังได้ร่วมสร้างศาสนสถานสำคัญๆ อีกเป็นอันมาก ก่อนที่ภายหลังจะลาสิกขาออกมารับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)