พระกรณียกิจ ของ พระยาสุมนเทวราช

ด้านศานา
- ในปี พ.ศ. 2360 (ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ น้ำในแม่น้ำน่านไหลเข้าสู่ตัวเมืองน่านด้วยความแรงและเชี่ยว ได้พัดพากำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกพังทลายลงทั้งแถบ บ้านเรือนพังทลายเกือบหมด วัดวาอารามในนครน่านหักพังเป็นอันมาก
- พ.ศ. 2362 เจ้าพระยาหลวงสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองไปอยู่บริเวณดงพระเนตรช้าง ซึ่งเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึงอยู่ทางทิศเหนือของเมืองเดิม ใช้เวลาสร้าง 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ เรียกว่า "เวียงเหนือ" (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านมหาโพธิ์ และบ้านสถารส อ.เมือง) ห่างจากเวียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร เวียงเหนือ ทอดไปตามลำน้ำน่าน ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ 800 เมตร มีคูเมืองล้อมรอบ ซึ่งปัจจุบัน ยังพบร่องรอยคูน้ำคันดินเวียงเหนือ สันนิษฐานว่า ครั้งที่ย้ายเมืองนั้น มีวัดสถารสเป็นวัดหลวงของเขตเวียงเหนือในปัจจุบัน คือ ถนนหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่านด้านเหนือ จดบ้านหัวเวียงเหนือด้านใต้ จดทุ่งนารินด้านตะวันออก ยาวไปตามถนนสุมนเทวราชด้านตะวันตก ตั้งแต่มุมรั้วสนามกีฬา จังหวัดน่าน ทิศเหนือ และทุ่งควายเฒ่าข้าวสารวัดสถารสเป็นวัดเดียวในเวียงเหนือ ที่มีพระธาตุเจดีย์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นวัดหลวง ศูนย์กลางนครน่าน อยู่ที่เวียงเหนือสืบกันมาได้ 36 ปี จนถึงสมัยของเจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ ผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันใน จนถึงปี พ.ศ. 2397• ด้านการเมือง

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)