การเมืองและชีวิตหลังบำนาญ ของ พระยาอธิกรณ์ประกาศ_(หลุย_จาติกวณิช)

ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน พระยาอธิกรณ์ประกาศ ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจและข้าราชบริพารใกล้ชิด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้รักษาพระนคร และเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ถวายรายงานต่อพระองค์ท่านถึงรายชื่อบุคคลต่าง ๆ ในคณะราษฎร ที่มีพฤติการณ์น่าสงสัยว่าจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อบ้านเมือง แต่พระองค์ท่านไม่ทรงเชื่อ ด้วยทรงเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ไม่น่ามีศักยภาพเพียงพอ

แต่ทางตำรวจโดยพระยาอธิกรณ์ประกาศ ก็ยังได้ส่งตำรวจภูบาล (ตำรวจสันติบาล ในปัจจุบัน) เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของบุคคลต่าง ๆ ในคณะราษฎรอย่างใกล้ชิดถึงบริเวณหน้าบ้านพัก

ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อันเป็นวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาอธิกรณ์ประกาศ ได้ทราบรายงานเรื่องการปฏิวัติ ขณะที่นอนหลับอยู่ในบ้านพัก เมื่อสายตำรวจรายงานเข้ามาว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งเข้าทำการยึดกรมไปรษณีย์โทรเลข และตัดสายโทรศัพท์ โทรเลข ไว้ได้หมดแล้ว จึงเดาเรื่องราวทั้งหมดออก และตัดสินใจเดินทางเข้าสู่วังบางขุนพรหมทันที พร้อมกำลังตำรวจ เพื่อเข้าเฝ้าถวายรายงานแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ[16] เมื่อพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) เป็นผู้นำกองกำลังในการบุกเข้ามายังวังบางขุนพรหม เมื่อทรงทราบ และกำลังจะทรงหนีทางท่าน้ำหลังวังพร้อมด้วยครอบครัวและข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง แต่ยังทรงลังเลเมื่อมีเรือตอร์ปิโดหาญทะเลของทหารเรือฝ่ายคณะราษฎรที่ควบคุมโดย เรือโท จิบ ศิริไพบูลย์ คอยลาดตระเวนดูอยู่ เมื่อทางพระประศาสน์ฯมาถึง พระยาอธิกรณ์ประกาศจะชักปืนยิง แต่ทางหลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ทหารเรือฝ่ายคณะราษฎรได้กระโดดเตะปืนจากมือของพระยาอธิกรณ์ประกาศกระเด็นลงพื้นเสียก่อน จึงยิงไม่สำเร็จ [17]

หลังจากนั้น พระยาอธิกรณ์ประกาศได้ถูกควบคุมตัวในพระที่นั่งอนันตสมาคม อันเป็นที่บัญชาการของคณะราษฎร เฉกเช่นเจ้านายพระองค์อื่น และบุคคลสำคัญต่าง ๆ ด้วย และถือเป็นข้าราชการคนแรกที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันเดียวกันนั้นเอง โดยคำสั่งของผู้รักษาพระนคร คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร และได้ประกาศให้ พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) ขึ้นมารักษาการตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจแทน[18] ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ก็ได้รับการปลดให้พ้นจากราชการโดยพระบรมราชโองการ เมื่อออกรับพระราชบำนาญแล้ว ได้ใช้ชีวิตอยู่กับบ้านด้วยการทำงานอดิเรก คือ ปลูกต้นไม้ และเลี้ยงไก่ จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2497 จึงป่วยเป็นไตพิการกำเริบ แพทย์รักษาสุดความสามารถ จนถึงอนิจกรรม เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 สิริอายุได้ 78 ปี

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระยาอธิกรณ์ประกาศ_(หลุย_จาติกวณิช) http://www.dailynews.co.th/article/349/146952 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/...