ตำแหน่งทางการเมือง ของ พระยาอัชราชทรงสิริ_(แม้น_อรุณลักษณ์)

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 14[2] อันมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยตำแหน่งจึงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนที่ 4

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นรองประธานวุฒิสภา

พระยาอัชราชทรงสิริ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองทั้งกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถยิ่ง ได้รับความไว้วางใจและรับผิดชอบงานตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาด้วยตนเองอยู่เสมอ ดังที่พระยามานวราชเสวี ได้เขียนประวัติพระยาอัชราชทรงสิริไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ความตอนหนึ่งว่า

เจ้าคุณอัชราชทรงสิริ เป็นคนชอบศึกษา ได้ศึกษามาตั้งแต่เด็กจนตลอดชีวิตของท่าน ได้ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองโดยเต็มสติปัญญาและความสามารถหลายตำแหน่งต่างๆ กัน เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูง ผู้บังคับบัญชาและคนทั้งหลาย ปฏิบัติตนสมแก่ฐานะตลอดมา ทั้งมีหลักธรรมที่ยึดมั่นอยู่เป็นนิจ ได้ให้การศึกษาแก่บุตรธิดาเต็มความสามารถ จนทุกคนสอบไล่ได้ขั้นปริญญาในประเทศไทยแทบทุกคน หลายคนสอบไล่ได้ปริญญาต่างประเทศ เจ้าคุณอัชราชทรงสิริส่งออกไปศึกษาด้วยทุนของตนเองก็มี ที่ได้ทุนหลวงและทุนต่างประเทศก็มี นับว่าท่านได้ฉลองพระคุณบ้านเมืองในการอบรมบุตร เพื่อประโยชน์แก่ราชการและบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี มีน้อยคนที่สามารถทำได้เช่นนี้ แสดงว่าท่านได้ยอมเสียสละอย่างมากมาย

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)