ประวัติ ของ พระยาเสนาะดุริยางค์_(แช่ม_สุนทรวาทิน)

พระยาเสนาะดุริยางค์เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทินได้ฝึกฝนวิชาดนตรีจากครูช้อยผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ครูช้อยฯเป็นคนตาบอดตั้งแต่เด็ก แต่มีความสามารถในทางดนตรีในระดับบรมครู บ้านครูช้อยเกิดไฟไหม้ สมภารแสง พรหมโชติ วัดน้อยทองอยู่(มรณภาพปี 2455)ได้อุปการะครูช้อยฯและครอบครัวโดยให้สร้างบ้านหลังวัดน้อยทองอยู่ และสมภารแสงฯก็สนับสนุนดนตรีไทยของครูช้อยมาโดยตลอด ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนเสนาะดุริยางค์” ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์มหาดเล็ก ถือศักดินา ๘๐๐[1]โปรดให้เลื่อนเป็น “หลวงเสนาะดุริยางค์” ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2452 ในตำแหน่งเดิม[2]จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น “พระเสนาะดุริยางค์” รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทาน เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2450 และท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาเสนาะดุริยางค์” ในปี พ.ศ. 2468

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียบ คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม้ ครูทรัพย์ นุตสถิตย์ ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริ

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)