พระประวัติ ของ พระยาไชยสงคราม_(ทิพย์ช้าง)

พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันคือตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร) มีนามเดิมว่า "ทิพย์ช้าง" เกิดในราวปี พ.ศ. 2217 ได้บวชเรียนที่วัดปงยางคก และสึกออกมาประกอบอาชีพพรานป่า มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธ และมีความสามารถในการขับไล่และตัดหางช้างที่มารบกวนพืชผลของชาวบ้านได้ ชาวบ้านจึงขนานนามว่า "หนานทิพย์ช้าง"[2] หนานทิพย์ช้าง มีภรรยาคนหนึ่งชื่อ "นางปิมปา" ชาวบ้านหนาดคำ แคว้นบ้านเอื้อม (ปัจจุบันคือตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง)

ในช่วงปลายของกรุงศรีอยุธยา นครเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนลำปางเป็นนครรัฐอิสระ กระทั่งท้าวหนานมหายศ เจ้าเมืองลำพูนยกทัพมาตีชนะเมืองลำปาง และตั้งศูนย์บัญชาการที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เหล่าบรรดาประชาชนจึงได้ขอให้หนานทิพย์ช้าง นายพรานผู้เก่งกล้าและเชี่ยวชาญอาวุธปืนยาวและหน้าไม้ เป็นผู้นำในการกอบกู้นครลำปาง โดยสามารถรบชนะและสังหารท้าวมหายศได้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ชาวเมืองจึงร่วมกันสถาปนาหนานทิพย์ช้าง ขึ้นครองนครลำปาง ในปี พ.ศ. 2275[3] มีพระนามว่า พระญาสุลวะลือไชย

ด้วยล้านนามีคติว่า "บ่ใจ้เจื้อเจ้าก่ออย่าหวังเป๋นพระญา บ่ใจ้เจื้อเสนาก่ออย่าหวังเป๋นอำมาตย์ บ่ใจ้เจื้อคนแกล้วอาจก่ออย่าหวังเป๋นขุนหาญ บ่ใจ้เจื้อนักก๋านก่ออย่าหวังเป๋นเถ้าแก่"[4] หนานทิพย์ช้างซึ่งเป็นเพียงสามัญชนรู้สึกว่าตนเองไม่มีสิทธิธรรมในการปกครอง จึงต้องอาศัยความชอบธรรมโดยการแต่งตั้งของกษัตริย์พม่า หนานทิพย์ช้างได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงอังวะ และได้รับการเฉลิมพระนามจากพระเจ้ากรุงอังวะเป็นพระยาไชยสงคราม ในปี พ.ศ. 2278[5] บางตำราจึงมักออกพระนามรวมกันเป็นพระยาสุลวะลือไชยสงคราม พระองค์ปกครองนครลำปางได้ 27 ปี จึงถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2302

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาพิชัยดาบหัก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)