งานการเมือง ของ พระราชธรรมนิเทศ_(เพียร_ไตติลานนท์)

พระราชธรรมนิเทศเป็นผู้มีบทบาทด้านการเมืองในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เคยเป็นคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ที่แก้ไขปรับปรุงภาษาไทย และชำระปทานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน ในการปรับปรุงอักษรไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2485 ให้เหลือเพียง 31 ตัว โดยมี พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)เป็นประธาน จนได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 4 ปุโรหิตประจำตัวของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม คือ ยง เถียร เพียร นวล อันได้แก่ ยง (พระยาอนุมานราชธน) เถียร (หลวงวิเชียรแพทยาคม) เพียร (พระราชธรรมนิเทศ) นวล (หลวงสารานุประพันธ์)[4]

พระราชธรรมนิเทศได้รับการเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2491 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 2 สมัย อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พระราชธรรมนิเทศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดปทุมธานี
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดปทุมธานี

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

พระราชธรรมนิเทศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย[5] คือ

  1. ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 6

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์