ประวัติ ของ พระราชธรรมาภรณ์_(เงิน_จนฺทสุวณฺโณ)

หลวงพ่อเงินเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2433 ในครอบครัวเกษตรกรรมที่มีฐานะครอบครัวหนึ่งของบ้านดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม บิดาท่าชื่อ พรม ด้วงพูล มารดาชื่อ กรอง ด้วงพูล ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ในพี่น้องทั้งหมด 7 คน ในวัยเด็ก ท่านก็อยู่ศึกษาวิชาความรู้กับ พ่อพรม บิดาของท่านเอง และตัวพ่อพรมท่านมีความสามารถในการถ่ายทอดวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ผ้ายันต์ ตัวอักขระ ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2353 ณ พัทธสีมา วัดดอนยายหอม มีพระปลัดฮวย เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ หลังอุปสมบทท่านก็ได้เข้ารับการศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติธรรมของสงฆ์ ซึ่งในเวลาหลังอุปสมบทไม่นาน ท่านก็ได้มีการท่องบทคาถาอาคมต่าง ๆ หลวงพ่อท่านได้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและพอสำเร็จ ท่านก็เริ่มออกธุดงควัตร หลวงพ่อท่านได้เดินทางผ่านภาคเหนือ[2] ในการออกธุดงค์ของหลวงพ่อเงิน ต้องเผชิญอันตรายกับสัตว์ป่า สัตว์ที่ดุร้าย แต่ท่านก็สามารถรอดปลอดภัยกลับมาได้ แต่เนื่องจากระหว่างทางมีแต่ความลำบาก ท่านจึง ได้มาปักกลดอยู่ข้างบ้านดอนยายหอม โดยที่มีผิวกายดำกร้าน ร่างกายซูบผอมราวกับคนชรา ชาวบ้านพอจำท่านได้ก็ยกมือไหว้ หลังจากนั้นพอท่านกลับมาจากการปักกรดไม่นาน ท่านก็เทศนาสอนลูกศิษย์และประชาชนว่า ชีวิตมนุษย์ของเรานั้นไม่แน่นอน ร่างกายมนุษย์ สังขารนั้นไม่ยั่งยืน ทุกอย่างล้วนอยู่ในวัฎสงสาร และจงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีสุขก็รู้จักพอ ต่อมาท่านเจ้าคุณพุทธรักขิต แต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2459 และท่านได้เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมจริงๆเมื่อปี พ.ศ. 2466 เนื่องจากพระปลัดฮวย อดีตเจ้าอาวาส ได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อเดือน ธันวาคม 2504 หลวงพ่อเงินได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนาม “พระราชธรรมาภรณ์” ข่าวนี้ ก่อความปลื้มปิติแก่ลูกศิษย์และชาวดอนยายหอมเป็นล้นพ้น หลวงพ่อท่านได้สร้างคุณประโยชน์มากมายตั้งแต่การดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ทั้งช่วยเหลือประชาชนและชาวบ้านละแวกใกล้ๆ และพระเครื่องของท่าน ก็คอยคุ้มครองปกปักรักษาประชาชนทุกคน หลวงพ่อเงินท่านได้เริ่มอาพาธในปี พ.ศ. 2520 และได้ถึงแก่มรณภาพลงในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2520 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุ 86 ปี 66 พรรษา ถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วก็ตาม แต่คุณความดีของท่านยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะชาวดอนยายหอมอย่างไม่มีวันลืม ต่างยังรำลึกนึกถึงท่านอย่างไม่มีวันเลือนหายไปจากความทรงจำ[3]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์