ประวัติ ของ พระราชพงศาวดาร_ฉบับพันจันทนุมาศ_(เจิม)

บานแพนกของพระราชพงศาวดารฉบับนี้ระบุว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้ชำระเมื่อปี พ.ศ. 2338 และมีบานแพนกแทรกในข้อความหลังรัชกาลพระเจ้าเสือว่าเรื่องเดิมสิ้นสุดเพียงเท่านั้น และโปรดให้เจ้าพระยาพิพิธพิชัยเขียนเพิ่มเติมอีกเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเป็นต้นไป[3] นักประวัติศาสตร์ไทยเชื่อว่าเนื้อหาบางส่วน โดยเฉพาะก่อน พ.ศ. 2320 น่าจะเขียนสมัยกรุงธนบุรี[4] และน่าจะเป็นพงศาวดารเก่าดั้งเดิมที่ใช้เป็นต้นฉบับในการชำระพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน[5] และพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา

ต่อมากรมศิลปากรได้นำเนื้อหาเฉพาะตอนกรุงศรีอยุธยามาพิมพ์ในชื่อ "ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)" แจกในงานปลงศพคุณหญิงปฏิภานพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล) ณ วัดประยุรวงศาวาส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2479 ส่วนตอนกรุงธนบุรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ โปรดให้พิมพ์ "ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)" แจกในงานพระราชทานเพลิงศพนายพันเอก พระยาสิริจุลเสวก (พัว จุลเสวก) ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480[6]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์