รัฐพิธี ของ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา_7_รอบ_5_ธันวาคม_2554

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • วันที่ 2 ธันวาคม พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดิน เวลา 08.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ โดยส่วนกลางจัดที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล (โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และในส่วนภูมิภาคจัดที่หน้าศาลากลางของทุกจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนกลางในการจัดพิธี และหน่วยงานอื่น ๆ จัดที่สถานที่ตั้งของหน่วยงานตามความเหมาะสม)
  • วันที่ 5 ธันวาคม พิธีถวายเครื่องราชสักการะ และ จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และพิธีถวายพระพรชัยมงคล ของเหล่าข้าราชการ และพสกนิกรชาวไทย ซึ่งกำหนดจัดที่ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง และ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด ดังเช่นที่ได้จัดมาเป็นประจำทุกปี โดย มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • วันที่ 7 ธันวาคม งานสโมสรสันนิษบาตเฉลิมพระเกียรติ ณ ทำเนียบรัฐบาล เวลา 19.00 น. (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ สำหรับการจัดงานมีการแสดงชุดพิเศษ คือ การแสดงดนตรีบรรเลงเพลงเฉลิมพระเกียรติ เพลง “ภัทรมหาราช” โดยวงดุริยางค์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ ชุด "ทศพิธราชธรรม" จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การแสดงดนตรีบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ โดยวง Vietrio ซึ่งเป็นนักเรียนทุนพระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และการแสดงดนตรีบรรเลงเพลง "ครองแผ่นดินโดยธรรม" โดยวงดุริยางค์เหล่าทัพและตำรวจ

พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ ถวายของที่ระลึก 3 รายการ ได้แก่ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์จำลอง หนังสือที่ระลึกประมวลพระราชดำรัส และเงินสมทบมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[ต้องการอ้างอิง]

  • การจัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล และการจัดแสดงมหรสพสมโภช ภายใต้ชื่องาน "เย็นศิระเพราะพระบริบาล" โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน กรุงเทพมหานคร และ มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ร่วมกันจัดงาน ระหว่างวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม ถึงวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม]] พ.ศ. 2554 ตั้งแต่เวลา 18:00-24:00 น. บริเวณท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินตลอดสาย จนถึงบริเวณลานพระราชวังดุสิต ตลอดจนภายในสวนอัมพร ที่สำคัญคือพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนชัยถวายพระพร ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง และสถานที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร[ต้องการอ้างอิง] ส่วนงานมหรสพสมโภช มีกิจกรรมประกอบด้วย การลงนามถวายพระพร ณ ร่มโพธิ์ร่มไทรของแผ่นดิน การเข้ากราบถวายสักการะพระทันตธาตุ ของประเทศภูฏาน ถนนและนิทรรศการ เย็นศิระเพราะพระบริบาล การแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 84 พรรษา มหาราชา การฉายภาพยนตร์พาโนรามาบนกำแพงพระบรมมหาราชวัง ระยะทางยาวประมาณ 100 เมตร การนำสัญลักษณ์ของ 77 จังหวัดทั่วประเทศ มาประดับเป็น Landmark ใหญ่ใจกลางงาน มีขบวนรถเฉลิมพระเกียรติ มีขบวนกลองประจำภาค การแสดงจากต่างประเทศ การจัดกิจกรรมย้อนยุควิถีชีวิตคนไทยเมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมดนตรีและความบันเทิง การแสดงพลุดอกไม้ไฟ ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้จัดทำสายรัดข้อมือ ที่ระลึกเป็นพิเศษในงานนี้ด้วย[ต้องการอ้างอิง] และที่สำคัญคือ ทางสำนักพระราชวัง เปิดให้เข้าชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในยามค่ำคืน ตั้งแต่วันที่ 5 - 9 ธันวาคม ปีเดียวกันตั้งแต่เวลา 18.00 น. - 24.00 น.
  • พิธีเสกและอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ได้กำหนดให้ทุกจังหวัดประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำสำคัญที่ประชาชนเคารพเลื่อมใส หรือแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัด หรือจากแหล่งน้ำที่เคยใช้ประกอบพิธีอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง โดยให้ประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ ณ สถานที่ที่สำคัญหรือพระอารามหลวงของจังหวัดแล้วนำมามอบให้กระทรวงมหาดไทยเพื่อนำเข้าพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ที่ส่วนกลางอีกครั้ง ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แล้วจึงนำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในงานพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยจะประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำในแต่ละจังหวัดในวันที่ 14 ตุลาคม (บางจังหวัดอาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น กรุงเทพมหานครจะประกอบพิธีตักน้ำในวันที่ 25 พฤศจิกายน เนื่องจาก ในวันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ สำนักพระราชวังอยู่ระหว่างไว้ทุกข์งานพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จึงเป็นการไม่เหมาะสมที่จะประกอบพิธีตักน้ำพระพุทธมนต์) พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละจังหวัดในวันที่ 28 พฤศจิกายน แล้วรวมโถน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 76 จังหวัด นำมาเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย และวันที่ 2 ธันวาคม มีพิธีอัญเชิญโถน้ำพระพุทธมนต์ จำนวน ๗๗ โถ จากกระทรวงมหาดไทยไปยังพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อประกอบพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ โดยพระเถระ จำนวน ๘๕ รูป แล้วตักน้ำบรรจุในพระเต้าปทุมนิมิตทอง นาก เงิน จากนั้น วันศุกร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จัดริ้วขบวนอิสริยยศอัญเชิญพระเต้าปทุมนิมิตทอง นาก เงิน (ภายในบรรจุน้ำพระพุทธมนต์) จากวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ไปตามถนนสนามไชย ถนนหน้าพระลาน เข้าประตูวิเศษไชยศรี ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เสร็จแล้วตั้งแถวรอเฝ้ารับเสด็จฯ ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำพระพุทธมนต์แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรภายในพระบรมมหาราชวัง[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา_7_รอบ_5_ธันวาคม_2554 http://www.facebook.com/krongpandin http://music.mthai.com/clip/musicmv/115234.html http://77.nationchannel.com/video/199049/ http://www.debug.newswit.com/life/2011-01-13/05941... http://www.ryt9.com/s/tpd/1059970 http://thaicatwalk.com/wordpress/2011/06/glamour/ http://www.thaigoodview.com/node/115235 http://www.welovekingonline.com http://www.komchadluek.net/detail/20120218/123217/... http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.asp?...