พระราชวังช็องบอร์
พระราชวังช็องบอร์

พระราชวังช็องบอร์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งพระราชวังช็องบอร์ (ฝรั่งเศส: Château de Chambord) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในช็องบอร์ในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังช็องบอร์เป็นวังที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดวังหนึ่งในโลกจากลักษณะสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะผสานระหว่างการก่อสร้างแบบยุคกลางของฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมคลาสสิกของอิตาลี[1]พระราชวังช็องบอร์สร้างโดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสสำหรับเป็นที่ประทับที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากโกลด โรอ็อง พระสนมเคาน์เทสส์แห่งตูรี ภรรยาของฌูว์เลียง เคานต์แห่งแกลร์มง ซึ่งเป็นตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ที่พำนักอยู่ที่วังมุยด์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก[2] ตราอาร์มของโคลดใช้ตกแต่งพระราชวังช็องบอร์เป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวังต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำลัวร์ แต่เดิมเป็นเพียงตำหนักล่าสัตว์ของพระเจ้าฟร็องซัว ผู้ทรงมีที่ประทับอยู่ที่พระราชวังบลัวและพระราชวังอ็องบวซ กล่าวกันว่าช็องบอร์เดิมออกแบบโดยโดเมนีโก ดา กอร์โตนา ผู้ที่มีจำลองไม้ที่มีอายุยืนพอที่จะให้อ็องเดร เฟลีเบียงวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้มีส่วนสำคัญในการออกแบบคือสถาปนิกยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวฝรั่งเศสฟีลีแบร์ เดอลอร์ม[3] ในระยะยี่สิบปีของการก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1519 และ ค.ศ. 1547 โครงสร้างช็องบอร์ก็เปลี่ยนไปจากที่ออกแบบไว้เป็นอันมาก[4] โดยมี Pierre Nepveu เป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง ในปี ค.ศ. 1913 มาร์แซล แรมงเสนอว่า[5] เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้เป็นแขกของพระเจ้าฟร็องซัวที่ Clos Lucé ไม่ไกลจากอ็องบวซเป็นผู้มีส่วนในการออกแบบ ที่สะท้อนให้เห็นในแผนสำหรับวังโรโมรองแตงที่ดา วินชีเตรียมสำหรับพระราชมารดาของพระเจ้าฟร็องซัว และความสนใจในการออกแบบลักษณะการก่อสร้างแบบช็องบอร์ และบันไดกลางที่เป็นบันไดเวียนสองวงซ้อน แต่ข้อเสนอนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันโดยทั่วไป[6] เมื่อสร้างใกล้เสร็จ พระเจ้าฟร็องซัวก็ทรงเป็นเจ้าภาพจัดงานเพื่อแสดงความโอ่อ่าของพระราชวัง ต่อคู่อริเก่าสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวังต้องห้าม พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังบางปะอิน พระราชวังพญาไท