ประวัติและตำนานของพระราชวัง ของ พระราชวังรัตนรังสรรค์

เรื่องตำนานพระราชวังรัตนรังสรรค์นั้น เกี่ยวข้องตำนานเมืองระนอง โดยปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เป็นครั้งแรกที่จะได้เสด็จไปถึงเมืองระนอง พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง เจ้าเมืองระนอง) สร้างที่ประทับรับเสด็จที่บนเนินควนอันอยู่กลางเมือง สร้างล้วนด้วยเครื่องก่อประกอบกับไม้แก่นอย่างมั่นคง ประสงค์จะถวายเป็นราชพลีสนองพระเดชพระคุณซึ่งได้ทรงชุบเลี้ยงสกุลวงศ์มา และทรงประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ เป็นเวลา 3 ราตรี ระหว่าง 23-25 เมษายน พ.ศ. 2433

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นดำรัสว่า“...ทำงดงามมั่นคงสมควรจะเป็นวัง ยิ่งกว่าจะเป็นพลับพลา...” จึงพระราชทานนามว่า “พระราชวังรัตนรังสรรค์” ให้เป็นเกียรติยศแก่เมืองระนอง และสกุลของพระยารัตนเศรษฐีด้วย แต่ทรงพระราชดำริว่า ที่เมืองระนองนาน ๆ จะเสด็จประพาสครั้งหนึ่ง วังทิ้งไว้เปล่าก็จะชำรุดทรุดโทรมเสีย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า โดยปกติให้ใช้พระราชวังนั้นเป็นศาลารัฐบาล และทำพิธีสำหรับบ้านเมือง ต่อเมื่อมีการเสด็จประพาสเมื่อใดจึงให้จัดเป็นที่ประทับ

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชวังสนามจันทร์