ชาติกำเนิด ของ พระอุรุเวลกัสสปะ

พระอุรุเวลกัสสปะ เกิดในตระกูลพราหมณ์กัสสปโคตร มีน้องชาย 2 คน ชื่อ กัสสปะ เหมือนกัน เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ได้ศึกษาจบไตรเพท คือ พระเวท 3 อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของพราหมณ์ ได้แก่

  1. ฤคเวท (อรุพเพท) ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า
  2. ยชุรเวท (ยชุพเพท) บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ
  3. สามเวท ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวงงดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ

กัสสปะพี่ชายคนโตนั้นมีบริวาร 500 คน กัสสปะ คนกลาง มีบริวาร 300 คน และกัสสปะ คนเล็กสุดท้าย มีบริวาร 200 คน ต่อมาทั้งสามพี่น้องมีความเห็นตรงกันว่า “ลัทธิที่พวกตนนับถืออยู่นั้นไม่มีแก่นสาร” จึงพากันออกบวชเป็นฤๅษีชฎิล เกล้าผมเซิง บำเพ็ญพรตบูชาไฟตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา ตามลำดับกัน พี่ชายคนโต ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตอนเหนือ ณ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า “อุรุเวลกัสสปะ” น้องชายคนกลาง ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำถัดไป ณ ตำบลนที จึงได้ชื่อว่า “นทีกัสสปะ” ส่วนน้องชายคนเล็ก ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำ ณ ตำบลคยา จึงได้ชื่อว่า “คยากัสสปะ


ในอดีตกาลพระอุรุเวลกัสสปะเถระ บังเกิดขึ้นในเรือนของผู้มีตระกูลในเมืองหงสาวดี พอเติบโตขึ้นแล้ว ได้ไปฟังพระธรรมเทศนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เห็นพระองค์ทรงตั้งพระเถระรูปหนึ่งไว้ ในตำแหน่งอันเลิศที่สุดกว่าพระสาวกทั้งหลายฝ่าย "มีบริวารมาก" จึงคิดว่าเราจะได้เป็นเช่นพระเถระนั้นบ้างในอนาคต

กุลบุตร (อุรุเวลกัสสปะ) เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงจัดการถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน การถวายมหาทานกระทำอยู่ทั้งหมด 7 วัน และในวันสุดท้ายได้ถวายผ้าไตรจีวรแล้วตั้งความปารถนาว่า ขอให้ข้าพระองค์ได้รับตำแหน่งอันเลิศที่สุดด้านมีบริวารมาก ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ด้วยผลของบุญกุศลนี้ ในอนาคตกลาโน้นเถิด พระเจ้าข้า

พระปทุมมุตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเป็นถึงความเป็นไปในอนาคตกาลของกุลบุตรนั้น ไม่มีเหตุขัดข้องแต่ประการใด จึงทรงพยากรณ์ว่า เธอจะได้เป็นผู้เลิศฝ่ายมีบริวารมากสมตามความปารถนา ในศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า โดยจะเสด็จขึ้นในหนึ่งแสนกับข้างหน้าโน้น

กุลบุตรนั้น ฟังคำพุทธพยากรณ์แล้ว เกิดความยินดีเป็นอย่างยิ่งราวกับว่า ความปรารถนาจะสำเร็จในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนี้ แล้วสร้างกัลยาณกรรมต่อมาจนตลอดชีวิต เมื่อนับถอยหลังจากกัปนี้ไปอีก 92 กัป ชาติหนึ่งท่านกลับมาเกิดเป็นพระอนุชาต่างพระมารดากับพระผู้มีภาคเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า พระปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระราชบิดานามว่า พระมหินทราชา และมีพระอนุชาอีก 2 พระองค์ รวมเป็น 3 พระองค์ และแต่ละองค์มียศถาบรรดาศักดิ์ต่างๆ กัน

ครั้งหนึ่งที่ปลายเขตแดนของพระมหินทราชาเกิดมีข้าศึกศัตรูมารุกราน พระราชาจึงเรียกพระโอรสทั้ง 3 พระองค์ไปปราบข้าศึก และทรงสามารถปราบข้าศึกศัตรูจนราบคาบ ระหว่างทางกลับจึงปรึกษาหารือกันว่าเราทำงานได้สำเร็จ เมื่อพระราชบิดาพระราชทานพรแก่ตนแล้ว จะเลือกรับพรอะไรดี แล้วมีดำริตรงกันว่า ไม่ว่าจะเป็นพระราชสมบัติใดๆ ก็ตาม ที่องค์สมเด็จพระราชบิดาจะพระประทาน ไม่มีอะไรจะสำคัญเท่ากับ การได้ปฏิบัติบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระเชฎฐาธิราชนั้นเลย เนื่องจากพระราชบิดานั้นคิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นของพระองค์คนเดียว จึงทรงถวายทานและไม่ให้ผู้อื่นร่วมทำบุญด้วย ครั้นเมื่อพระราชโอรสทั้งสามพระองค์มาถึงพระนคร ก็กราบทูลชัยชนะให้ทรงทราบ และขอพระราชทานพรดังที่ปรึกษากันอันนั้น เมื่อได้รับพรแล้ว ก็ทำการสมาทานศีล 10 ประการ แต่งตั้งบุรุษ 3 คนให้เป็นผู้ดูแลโรงทาน คอยตกแต่งไทยธรรมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยให้บุรุษผู้หนึ่งจัดหาธัญญาหาร บุรุษผู้หนึ่งเป็นพนักงานตรวจนับ และบุรุษอีกผู้หนึ่งเป็นพนักงานตกแต่งไทยธรรม พนักงานทั้งสามท่านนั้นใน ครั้นมาถึงในชาติปัจจุบัน ผู้เป็นพนักงานจัดหาธัญญาหาร กลับมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพนักงานจัดหาธัญญาหารกลับมาเกิดเป็นนางวิสาขอุบาสิกา และผู้เป็นพนักงานตกแต่งไทยธรรมกลับมาเกิดเป็นพระรัฐบาลเถระ

พระราชโอรสทั้งสามพระองค์เสด็จพากันไปทรงสมาทานศีล 10 ประการ อยู่จนตลอดไตรมาส (3 เดือน) เพื่อยึดหลักแห่งการบูชาสูงสุด ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน แม้ว่าจะมีการปฏิบัติด้วยการบริจาคจตุปัจจัยบำรุงแล้วก็ตาม

พอออกพรรษาแล้วพระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ทรงจัดการถวายไทยธรรมด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงกระทำบุญอยู่จนตลอดพระชนมชีพ ครั้นมาถึงชาติสุดท้ายนี้ พระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ กลับมาเกิดในตระกูลพราหมณ์ กัสสปโคตร ก่อนพระพุทธเจ้า และมีชื่อเหมือนกันหมดทั้งสามคนคือ กัสสปะ แต่มีคำนำหน้าชื่อที่ต่างกันออกไปตามที่อยู่ เช่นองค์ที่อยู่ที่ ตำบลอุรุเวลา มีชื่อว่า อุรุเวลกัสสปะ องค์ที่อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำมหาคงคานที จึงถูกเรียกว่า นทีกัสสปะ และคนสุดท้องมีชื่อว่า คยากัสสปะ เพราะอาศัยอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ

การได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีบริวารมาก

พระอุรุเวลกัสสปะได้รับยกย่องในทางผู้มีบริวารมาก (ที่เป็นพระอรหันต์ 1,002 องค์) เนื่องจากท่านเป็นผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม อันเป็นธรรมสำหรับผู้ใหญ่ใช้ปกครองดูแลบริวารให้มีความสุข ซึ่งประกอบด้วย

  1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
  2. กรุณา ความสงสาร ปรารถนาจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
  3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
  4. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ

ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ และอีกทั้งรู้จักบำรุงจิตใจบริวารด้วยการสงเคราะห์ ด้วยวัตถุสิ่งของและหลักธรรมะ จึงทำให้ท่านสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจบริวารไว้ได้ เป็นที่รักเคารพของบริวาร และก็เป็นพุทธสาวกรูปเดียวที่มีบริวารมากที่สุด พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าพระสาวกทั้งปวง ในฝ่ายผู้มีบริวารมาก

ใกล้เคียง

พระอุปคุต พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) พระอุรุเวลกัสสปะ พระอุดมประชานาถ (เปิ่น ฐิตคุโณ) พระอุบลวรรณาเถรี พระอุทัยประเทศ (บัว นิวงษา) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) พระอุบาลี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว)