ความวุ่นวายปลายรัชกาล ของ พระเจ้าจักกายแมง

พระเจ้าจักกายแมงทรงสะเทือนพระทัย จนกระทั่ง พ.ศ. 2374 พระองค์เริ่มมีอาการทางประสาท จนอาการกำเริบ ไม่อาจว่าราชการได้ จน พ.ศ. 2380 จนมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเจ้านายและขุนนางพม่าเพื่อแย่งชิงอำนาจ พระนางแมนุกับมี่นต้าจี้ต้องการกำจัดเจ้าชายสารวดี และจะยกพระโอรสของพระเจ้าจักกายแมง คือเจ้าชายญองย่าน ขึ้นเป็นกษัตริย์ เจ้าชายสารวดีจึงเสด็จหนีไปรวบรวมผู้คน กลับมายึดอำนาจ ปลดพระเจ้าจักกายแมงลงจากราชบัลลังก์เมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2380 และขึ้นครองราชสมบัติแทน ในพงศาวดารไทยเรียกพระองค์ว่าพระเจ้าแสรกแมง

หลังจากขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว พระเจ้าพระเจ้าแสรกแมงทรงประหารชีวิตพระนางแมนุ มี่นต้าจี้ และเจ้าชายญองย่าน ส่วนพระเจ้าจักกายแมงถูกกักบริเวณไว้ ต่อมามีขุนนางพม่าจะพยายามนำพระเจ้าจักกายแมงกลับมาครองราชย์ พระเจ้าพระเจ้าแสรกแมงจึงสั่งให้คุมขังพระเจ้าจักกายแมงไว้อย่างแข็งแรงกว่าเดิม จนพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2389[2] ส่วนพระเจ้าแสรกแมงก็มีพระสติวิปลาสและถูกพระโอรสควบคุมตัวไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2385 และสวรรคตในปี พ.ศ. 2389 หลังพระเจ้าจักกายแมงไม่กี่เดือน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ